วันศุกร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2551

ปรัชญาเกี่ยวกับสื่อ

1 การกำหนดปรัชญาของงานสื่อ
การจะปฏิบัติงานใด ๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ผู้บริหารจะต้องมีกรอบและปรัชญาของการทำงาน ทั้งนี้ผู้บริหารจะต้องรู้จักตัวเอง หมายถึง ศักยภาพของตนเอง รู้จักลูกค้า รู้จักบุคลากรผู้ร่วมงาน ไม่ว่าจะเป็นผู้บังคับบัญชา หรือผู้ใต้บังคับบัญชา จึงจะสามารถทำงานร่วมกันอย่างราบรื่น โดยมีปรัชญาเป็นจุดหมายของการดำเนินงาน มีผู้กล่าวว่าวิสัยทัศน์ (vision) เป็นเสมือนพลังที่จะช่วยผลักดันให้คนไปสู่จุดหมายปลายทางได้สำเร็จ สิ่งที่จะช่วยในการกำหนดแนวทางของปรัชญา ซึ่งเกี่ยวข้องกับการบริหารและการวินิจฉัยสั่งการนั้นมองได้จากขั้นตอนการแก้ปัญหา ซึ่งประกอบด้วยหลายขั้นตอนดังนี้
ระบุปัญหาแต่ละปัญหาให้สั้น กะทัดรัด และชัดเจนที่สุด
ระบุปรัชญาของบริษัทหรือสถาบันที่ตนทำงานอยู่
กำหนดปรัชญาของตนว่าคืออะไร และสัมพันธ์กับปรัชญาของบริษัทอย่างไร
ระบุภารกิจของฝ่าย/แผนกงาน และความสัมพันธ์กับภารกิจของบริษัท
องค์ประกอบและปรัชญาที่กล่าวมานี้ จะช่วยในการวิเคราะห์แนวทางของการดำเนินการและการแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น ปรัชญาหรือสโลแกน (Slogan) ของพนักงานร้าน McDonald คือ Q, S, C, และ V ได้แก่ คุณภาพ (Quality) บริการ (Service) ความสะอาด (Cleanliness) และมีคุณค่า (Value) ในส่วนของบริษัทอุตสาหกรรมจะเน้นปรัชญาของบริษัทที่จะต้องควบคุมปัจจัยนำเข้าเพื่อการผลิตออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ และพนักงานที่ทำหน้าที่ประกอบการผลิต เพื่อเน้นผลผลิตที่ดี ใช้ง่าย ทนทาน เป็นต้น
ในสถาบันการศึกษา ปรัชญาของการดำเนินงานส่วนใหญ่จะเน้นว่า “ความต้องการของนักศึกษาจะต้องมาเป็นอันดับแรก” ผู้จัดการสื่อจะต้องหาข้อมูลว่าความต้องการเหล่านั้นคืออะไร และหน่วยงานจะสามารถสนองตอบต่อความต้องการได้มากน้อยเพียงใด หากจะต้องใช้แนวปรัชญาของร้าน McDonald คือ Q, S, C, V มาวิเคราะห์ จะสามารถพิจารณาได้ดังนี้ คุณภาพ หมายถึงของที่ให้บริการ วิธีการบริการ อาคารสถานที่ และสิ่งแวดล้อมที่ดี บริการ หมายถึงบริการที่รวดเร็ว มีจิตบริการ สุภาพ มีอัธยาศัยดี ตลอดจนความช่วยเหลือ ความสะอาด ความสะอาด ความเป็นระเบียบ และสวยงาม ดึงดูดผู้ใช้ คุณค่า ผู้ใช้ได้รับประโยชน์คุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายที่เสียไป แนวทางที่ใช้ในการกำหนดปรัชญา มีการใช้คำสำคัญ เช่น “ความรู้มาก่อนการกระทำ” “ต้องเตรียมพร้อม” “วางแผนล่วงหน้า” “ปฏิบัติเชิงรุก” “ใช้วิธีการที่ง่าย” “ต้องฟังและฟังมากขึ้น” “แบ่งงานอย่างมีเหตุมีผล” เป็นต้น
2 องค์ประกอบที่ใช้กำหนดปรัชญา
1) การบริการ (Service) เช่น
การให้ความพึงพอใจแก่ผู้ใช้
มีประวัติของการให้บริการที่ดี
การตอบสนองความต้องการของผู้ใช้
ความสามารถที่จะให้บริการลูกค้าได้ทุกประเภท
ปรัชญาของบริการคือ ไม่มีปัญหาใดที่ใหญ่เกินไปหรือเล็กเกินไป ฯลฯ
2) บุคลากรผู้ร่วมงาน (Staffing) เช่น
บุคลากรต้องมีคุณสมบัติสูงและเหมาะสมกับวิชาชีพ
ความเข้มแข็งของการจัดการบุคคล
ความเป็นผู้นำ
ความมีคุณภาพ
การอุทิศตนกับงาน ฯลฯ
3) การสนับสนุนด้านบริหาร (Administrative support) เช่น
การได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหาร
การสนับสนุนด้านการบริหาร
การสนับสนุนด้านการเงินและงบประมาณให้เพียงพอ ฯลฯ
4) การติดต่อสื่อสาร (Communication) เช่น
รักษาความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับลูกค้า
การติดต่อกับลูกค้าเพื่อคาดหาและประเมินความต้องการ ฯลฯ
5) การจัดองค์การ (Organizational arrangement) เช่น
ความสามารถที่จะรายงานผู้บริหารได้โดยตรง
การรวมศูนย์ทรัพยากร แทนที่จะแบ่งกระจาย
การบูรณาการทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้ ให้เป็นโปรแกรมเดียว ฯลฯ
6) อื่น ๆ เช่น การมีระบบการสื่อสารโทรคมนาคมที่ดี ฯลฯ

0 ความคิดเห็น: