วันอาทิตย์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2551

การเปลี่ยนแปลงแนวคิดของสาระทางเทคโนโลยีการศึกษา

ถ้าหากใช้เวลาเป็นเกณฑ์กับการเปลี่ยนแปลงแนวคิดของสาระทางเทคโนโลยีการศึกษาพอจะแบ่งออกเป็น 3 ช่วงระยะเวลา (อิสิวัฒน์, 2547: อ้างถึง สาโรช, 2546: 2-23) ซึ่งเป็นการแบ่งยุคตามทฤษฎีทางจิตวิทยาหรือแนวความคิดของนักวิชาการในยุคนั้นๆ จากการศึกษาค้นคว้าพบว่าสอดคล้องกับการศึกษาเปรียบเทียบกับการนำเสนอการเปลี่ยนแปลงแนวคิดของสาระทางเทคโนโลยีการศึกษาเทียบกับประเทศไทย(พัฑรา, 2547: 2) แสดงให้เห็นว่าในช่วงเวลาหนึ่งระหว่างซีกโลกตะวันตกและตะวันออกต่างก็มีแนวคิดเป็นของตนโดยส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลมาจากทางซีกโลกตะวันตก และความเจริญก้าวหน้าของการผลิตสื่อวัสดุอุปกรณ์ในลักษณะผลผลิต อาจกล่าวได้ว่าการที่มีการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมและเทคโนโลยีจากสังคมยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรมสู่ยุคอุตสาหกรรมและก้าวเข้าสู่สังคมข่าวสารอย่างรวดเร็วเป็นผลทำให้นำผลผลิตมาใช้ในระบบการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่องทำให้แนวคิดและขอบข่ายสาระของเทคโนโลยีการศึกษากว้างขวางขึ้น (สุกัญญา, 2547: 3)
เทคโนโลยีการศึกษาในระยะแรกเป็นเพียงแนวคิดเกี่ยวกับการใช้สื่อช่วยในการเรียนรู้โดยการดูและการฟังซึ่งเรียกว่าโสตทัศนศึกษา และมีการเปลี่ยนแปลงมาตามลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและได้นำมาใช้ในทางการศึกษา จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงแนวคิดจาก “โสตทัศนศึกษา” มาเป็น “เทคโนโลยีการศึกษา” และด้วยเหตุที่เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในระยะต่อมา จึงส่งผลอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงแนวคิดและขอบข่ายสาระของเทคโนโลยีการศึกษาที่พัฒนาต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน (เลิศทิวัส, 2547: 1) การเปลี่ยนแปลงแนวคิดเดิมที่เป็นโสตทัศนศึกษา มาเป็นเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งเป็นกระบวนการ (Process) ต้องอาศัยระบบการจัดการ (Management) ที่ดีบนพื้นฐานของการปรับปรุงพัฒนา (Development) ด้วยการใช้ทรัพยากรการเรียน (Instructional Resources) ให้เหมาะสมกับผู้เรียน (Learner) เทคโนโลยีการศึกษาจึงเป็นเรื่องของกระบวนการแก้ปัญหาการศึกษาอย่างมีระบบ (วรางคณา, 2547: อ้างถึง ไชยยศ, 2533: 1-13) จุดเปลี่ยนแปลงแนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษา มีการเปลี่ยนแปลงแนวคิดในการออกแบบการสอนโดยมุ่งไปสู่ผู้เรียนโดยตรง แทนที่จะเป็นการออกแบบสื่อการศึกษาเพื่อเป็นเครื่องช่วยครูในการสอนเท่านั้น และได้มีการพัฒนาทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการออกแบบการเรียนการสอนหลายทฤษฎี (ภูเบศ, 2547: อ้างถึง ไชยยศ, 2540: 7) ซึ่งสอดคล้องกับการนำเสนอความคิดเห็นที่ว่าการเปลี่ยนแปลงแนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษาได้มีพัฒนาการมาตามยุคสมัย ตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของแต่ละประเทศ จากเอกสารตำราต่าง ๆ ที่กล่าวถึงเทคโนโลยีการศึกษาในช่วงแรก ได้เน้นในเรื่องสื่อที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้เพียงอย่างเดียว โดยเน้นสื่อในลักษณะตาดูหูฟัง หรือโสตทัศนศึกษานั่นเอง และต่อมาได้แนวคิดวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาผสมผสานก่อให้เกิดกระบวนการที่เป็นระบบสามารถตรวจสอบและแก้ปัญหาให้ถูกจุดได้ ซึ่งในปัจจุบันคือ เทคโนโลยีการศึกษา (อุทิศ, 2547: 3)

อ้างอิงจา http://pirun.ku.ac.th/~g4786022/page/change.doc

วันเสาร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2551

เทคโนโลยีทางการศึกษา

...............ความหมายของสื่อการเรียนการสอน.......... ...............การเรียนการสอนเป็นกระบวนการสื่อความหมายระหว่างผู้เรียนและผู้สอนโดยมีตัวกลาง เรียกว่า " สื่อการเรียนการสอน " ช่วยในการถ่ายทอดสาระการเรียนรู้ต่างๆ ...............ทบวงมหาวิทยาลัย (2546) นิยามว่า "เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา" เป็นเครื่องมือในการพัฒนาการศึกษา โดยการนำสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ โทรคมนาคม และการจัดแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้าได้ตามความต้องการ เพื่อให้การเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตทั้งด้านการศึกษาสาระความรู้ทางวิชาการ ทางศาสนา และศิลปะ วัฒนธรรม สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษาตามความหมายของทบวงมหาวิทยาลัยนั้น โดยมุ่งเน้นที่จะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้เต็มตามศักยภาพ ปราศจากข้อจำกัดด้านโอกาส ถิ่นที่อยู่ ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม .............."เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา" ตามความหมายของร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติ หมายถึง การนำสื่อตัวนำ คลื่นความถี่ และโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการแพร่เสียง ภาพ และการสื่อสารในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ทั้งการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยครอบคลุมสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ โทรคมนาคม สื่อโสตทัศน์ แบบเรียน ตำรา หนังสือทางวิชาการและแหล่งการเรียนรู้หรือเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่นตามที่คณะกรรมการสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติกำหนด ............เนื่องจากเทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology)เป็นสาขาที่รวมเอาแนวคิดของสาขาอืนๆหลากหลายสาขาเข้ารวมอยู่ด้วยกันดังนั้นแนวคิดต่อไปนี้เป็นคำนิยามของเทคโนโลยีการศึกษาสมบูรณ์ ...........1.เทคโนโลยีการศึกษา คือกระบวนการอันละเอียดซับซ้อนมีบูรณาการที่เกี่ยวกับคน การดำเนินการ ความคิด เครื่องมือ และองค์กร เพื่อการวิเคราะห์ปัญหา และการประดิษฐ์/สร้าง การปรับใช้ การประเมิน และการจัดการคำตอบต่อปัญหาทั้งหมดที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ทั้งปวงของมนุษย์ ในเทคโนโลยีการศึกษา นั้นขอบข่ายหนึ่งคือ ทรัพยากรการเรียน (Learning Resources)" ซึ่งได้รับการออก แบบ และ/หรือ เลือก และ/หรือใช้เพื่อก่อให้เกิดการเรียนรู้ ทรัพยากรเหล่านี้ได้แก่ ข้อมูล ข่าวสาร (Messages) คน (People) วัสดุ (Materials) เครื่องมือ (Devices) เทคนิค (Techniques) และสภาพแวดล้อม (Settings) กระบวนการสำหรับวิเคราะห์ปัญหา และประดิษฐ์/สร้าง การปรับใช้ และการประเมินคือหน้าที่การพัฒนาการศึกษาของการวิจัย-ทฤษฎี การออกแบบ การผลิต การประเมิน-เลือก การเอื้ออำนวย การใช้และการใช้-แจกจ่ายเผยแพร่ กระบวนการของการควบคุมกำกับการหรือการประสานสัมพันธ์หน้าที่ต่าง ๆ เหล่านี้คือหน้าที่การจัดการศึกษา (Educational Management Functions) ของการจัดการองค์กร และการจัดการบุคลากร (Organization Management and Personnel Management) ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ เหล่านี้ แสดงให้เห็นในแบบจำลองของขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษาตามแนวคิดของสมาคมนักเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ( AECT)ต่อไปนี้ ...........- เทคโนโลยีการศึกษาเป็นทฤษฏีหนึ่งเกี่ยวกับการอธิบาย และแก้ปัญหาการเรียนรู้ของมนุษย์ ...........- เทคโนโลยีการศึกษา เป็นสาขาวิชาการสาขาหนึ่ง ที่เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้กระบวนการอันละเอียดซับซ้อนมีบูรณาการเพื่อวิเคราะห์ และแก้ปัญหาการเรียนรู้ของมนุษย์ ...........- เทคโนโลยีการศึกษา เป็นวิชาชีพขั้นสูงสาขาหนึ่ง ประกอบขึ้นด้วยความพยายามที่เป็นระบบเพื่อปรับใช้ทฤษฎี เทคนิคเชิงปัญญา และการประยุกต์ใช้เชิงปฏิบัติการของเทคโนโลยีการศึกษา ...........2. เทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology) แตกต่างจากเทคโนโลยีในทางการศึกษา (Technology in Education) เทคโนโลยีในทางการศึกษาเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสำหรับกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของสถาบันต่างๆ ที่จัดการกิจการทางการศึกษา รวมทั้งการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทางด้านอาหาร สุขภาพ อนามัย การเงิน การจัดเวลา การรายงานผลการเรียน และกระบวนการอื่น ซึ่งใช้เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาในสถาบันนั้น ดังนั้นเทคโนโลยีในทางการศึกษาจึงไม่เหมือนกับเทคโนโลยีการศึกษา ..........3. เทคโนโลยีการศึกษาแตกต่างจากเทคโนโลยีการสอน เทคโนโลยีการสอนเป็นเซทย่อยของเทคโนโลยีการศึกษาตามพื้นฐานหลักการความคิดรวบยอดที่ว่า "การสอนเป็นเซทย่อยของการศึกษา" เทคโนโลยีการสอนเป็นกระบวนการที่มีความละเอียดซับซ้อน และมีบูรณาการเกี่ยวกับคน ดำเนินงาน ความคิด เครื่องมือ และองค์กร เพื่อการวิเคราะห์ปัญหาและการประดิษฐ์/สร้าง การปรับใช้ การประเมิน และการจัดการคำตอบต่อปัญหาเหล่านั้น ในสถานการณ์การเรียนที่การเรียนรู้มีการกำหนดจุดมุ่งหมายและมีการควบคุมกำกับการ ในเทคโนโลยีการสอนนั้น คำตอบสำหรับปัญหาจะอยู่ในรูปแบบ "องค์ประกอบระบบการเรียนการสอน" (Instructional System Components)" ซึ่งได้รับการจัดทำเค้าโครงล่วงหน้าในการออกแบบหรือการเลือกและการใช้ และได้รับการรวบรวมเป็นระบบการเรียนการสอนที่สมบูรณ์แบบ องค์ประกอบเหล่านี้คือ ข้อมูลข่าวสาร (Messages) คน (People) วัสดุ (Materials) เครื่องมือ (Devices) เทคนิค (Techniques) และสภาพแวดล้อม (Settings) กระบวนการเพื่อการวิเคราะห์ปัญหาและการประดิษฐ์/สร้าง การปรับใช้ และการประเมินคำตอบ ต่อปัญหาเหล่านั้นคือ "หน้าที่การพัฒนาการเรียนการสอน (Instructional Development Functions) ของการจัดการองค์กรและการจัดการบริหารงานบุคลากร ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ แสดงอยู่ในแบบจำลองขอบข่ายของเทคโนโลยีการเรียนการสอน (Domain of Instructional Technology Model) คำจำกัดความขององค์ประกอบต่างๆ ในแบบจำลองขอบข่ายของเทคโนโลยีการเรียนการสอน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าทุกสิ่งของเทคโนโลยีการสอนใช้ได้เหมาะสมกับขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา ถ้าเทคโนโลยีการสอน ได้รับการใช้และปฏิบัติการได้ก็สามารถปรับใขช้กับเทคโนโลยีการศึกษาได้แต่ในทางกลับกันจะไม่เป็นความจริง เพราะว่าในเทคโนโลยีการศึกษานั้นหน้าที่พัฒนาการ และจัดการนั้นมีการรวมองค์ประกอบมากกว่าเพราะว่าประยุกต์ใช้ทรัพยากรการเรียนที่กว้างขวางกว่าองค์ประกอบระบบการเรียนการสอนโดยที่เทคโนโลยีการศึกษาจะรวมทรัพยากรทั้งหมดซึ่งใช้เอื้ออำนวยการเรียน ...........4. คำนิยามของเทคโนโลยีการศึกษาตั้งขึ้นเป็นทฤษฎีได้เพราะว่าถึงเกณฑ์ข้อกำหนดดังนี้ ..........1) ความมีอยู่ของปรากฏการณ์/วัตถุ ..........2) มีคำอธิบาย ..........3) มีการสรุป ..........4) มีการนิเทศ ..........5) มีการจัดระบบ ..........6) มีคำอธิบายช่องโหว่ส่วนที่ละเลยหรือยังไม่กระจ่าง ..........7) มียุทธิวิธีเพื่อการวิจัยศึกษาค้นคว้า ..........8) มีคำทำนายผล ..........9) มีหลักการหรือชุดของหลักการ ...........5. เทคโนโลยีการศึกษามีเทคนิคเชิงวิชาการที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ซึ่งเป็นวิธีระบบเพื่อการแก้ปัญหา ในหน้าที่พัฒนาการและการจัดการแต่ละชนิดนั้น จะมีเทคนิคเชิง "ปัญญา" รวมอยู่ด้วย เทคนิคเชิง "ปัญญา" ของเทคโนโลยีการศึกษานี้มีความหมายมากกว่าผลรวมของส่วนต่างๆ เหล่านั้น มันจะรวมถึงระบบบูรณาการเทคโนโลยีแต่ละชนิดของหน้าที่เหล่านั้น และความสัมพันธ์ภายในของมัน จนเป็นกระบวนการอันละเอียดซับซ้อนและมีบูรณาการเพื่อวิเคราะห์ปัญหาทั้งหมดโดยส่วนรวม และสร้างคำตอบใหม่ อันก่อให้เกิดผลทาง "ระบบพลังสัมพันธ์รวม (synergistic)" ให้ผลลัพธ์ที่ได้ชนิดที่ไม่สามารถทำนายผลแบบการใช้องค์ประกอบต่างๆ ปฏิบัติงานตามเชิงเดี่ยว เทคนิคเชิง "ปัญญา" นี้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเทคโนโลยีการศึกษา ไม่มีสาขาวิชาการใดใช้มัน ............6. เทคโนโลยีการศึกษามีการประยุกต์ใช้เชิงปฏิบัติการ ในส่วนทรัพยากรการเรียนและการประกอบกิจของหน้าที่พัฒนาการ และการจัดการนั้นก่อให้เกิดเป็นี่เป็นพื้นฐานของการประยุกต์ใช้เชิงปฏิบัติการนี้อย่างชัดเจน นอกจากนี้การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการศึกษายังมีผลกระทบต่อโครงการสร้างการจัดระบบการศึกษาเพราะว่า 1) ทำให้ผลการปรับใช้เทคโนโลยีการศึกษาขยับสูงขึ้นไปคือ ระดับยุทธวิธีการกำหนดหลักสูตร (การตัดสินใจ) 2) ให้รูปแบบ 4 รูปแบบคือ ก) ทรัพยากรคน ข) ทรัพยากรอื่นที่ใช้หรือควบคุมกำกับการโดยคน ค) คนกับทรัพยากรอื่นร่วมกันรับผิดชอบหน้าที่ต่าง ๆ (รวมกันเป็นระบบการศึกราที่ใช้ระบบการเรียนการสอนกับสื่อสำเร็จรูป) ง) ทรัพยากรอื่น ๆ ตามลำพังอย่างเดียว (การเรียนการสอนกับสื่อสำเร็จรูป) 3) ทำให้เกิดรูปแบบสถาบันต่างๆ เพื่อเอื้ออำนวยการเรียน .............7. เทคโนโลยีการศึกษามีแนวทางเพื่อการฝึกอบรม และมีขอบข่ายระบบสมรรถวิสัยการฝึกอบรม กลุ่มนี้สะท้อนให้เห็นลักษณะพิเศษภายในสาขาวิชา เช่น เกี่ยวกับระดับของการประกอบกิจในสาขาเฉพาะลักษณะพิเศษนี้คือ 1) การพัฒนาโครงการการเรียนการสอน 2) การพัฒนาผลิตภัณฑ์สื่อ 3) การจัดการสื่อ ระดับความซับซ้อนของภารงาน 3 ระดับได้แก่ 1) ระดับผู้ช่วย 2) ระดับช่างเทคนิค 3) ระดับผู้เชี่ยวชาญ (AECT) ได้ให้แนวทางสำหรับโครงการฝึกอบรมและการให้การรับรองแก่ช่างเทคนิค และ ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาทั้ง 3 สาขา และได้พัฒนากระบวนการเพื่อปรับใช้แนวทางนี้ด้วย) ............8. เทคโนโลยีการศึกษาได้มีมาตรการเพื่อการพัฒนา และการปรับใช้การส่งเสริมความเป็นผู้นำ การเป็นผู้นำในสาขาวิชาการจัดทำได้โดยการจัดสัมมนา หรือ การฝึกอบรมระยะสั้น นอกจากนี้เทคโนโลยีการศึกษายังให้ความรู้ในหน้าที่ความเป็นผู้นำที่บรรจุอยู่ในสาขาการศึกษา โดยโครงการความร่วมมือแบบกลุ่มเครือข่ายหรือโครงการตามความตกลงร่วมกันและสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการเผยแพร่ ...........9.เทคโนโลยีการศึกษามีสมาคมและการสื่อสารในสาขาวิชาชีพ (ของสหรัฐอเมริกามีสมาคม Association for Educational Communications and Technology) และเพื่อเอื้ออำนวยต่อการติดต่อสื่อสารกับสมาชิกก็จัดให้มีวารสาร 3 ฉบับ ช่วยสนองการพัฒนาการปรับใช้ประทัดฐานและจรรยาบรรณ ความเป็นผู้นำ การฝึกอบรม และการรับรองของวิชาชีพนี้ .........10. เทคโนโลยีการศึกษาได้รับการยอมรับเป็นวิชาชีพชั้นสูงสุดสาขาหนึ่ง โดยการรับรองตัวเองจากสมาคมวิชาชีพและกิจกรรมที่ดำเนินการ .........11.เทคโนโลยีการศึกษาดำเนินงานในบริบทของสังคมอย่างกว้างขวาง ได้รับการสนับสนุนในฐานะวิชาชีพที่เป็นที่ยอมรับของวิชาชีพต่างๆ ที่ตระหนักในเทคนิคเชิงปัญญาและการประยุกต์ใช้เชิงปฏิบัติการตามเอกลักษณ์ของเทคโนโลยีการศึกษา นอกจากนี้ในฐานะที่เป็นวิชาชีพชั้นสูงสาขาหนึ่ง เทคโนโลยีการศึกษาก็ยังเป็นที่ยกย่องในด้านต่างๆ เช่น ความเป็นอิสระทางปัญญา การแสดงออกหลักการ/กิจกรรมที่เหมาะสม ต่อต้านวัสดุปัจจัยที่ไม่พัฒนาและ แก้ไขและเพิ่มพูนเทคโนโลยีเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายแห่งความเป็นมนุษย์และชีวิตที่สมบูรณ์ ...........12. เทคโนโลยีการศึกษาดำเนินการในขอบข่ายส่วนรวมทั้งหมด ของสาขาการศึกษา ในความสัมพันธ์กับวิชาชีพสาขาอื่น ๆ นั้น จะเป็นการให้การสนับสนุนที่มีความเสมอภาคทัดเทียมกันและให้ความร่วมมือกันประสานสัมพันธ์ในสาขาวิชาชีพต่างๆ นั้น .........13. เนื่องจากคำนิยามดังที่นำเสนอมาแล้วนี้ตรงกับทฤษฎีหนึ่งที่เกี่ยวกับการอธิบาย หรือการพิสูจน์และแก้ปัญหาการเรียนรู้ของมนุษย์ และเนื่องจากคำนิยามตรงกับข้อกำหนดเกณฑ์ของสาขาวิชาการ เทคโนโลยีการศึกษาจึงเป็นสาขาวิชาการหนึ่ง ที่เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้กระบวนการอันละเอียดซับซ้อนและมีบูรณาการ เพื่อการวิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาการเรียนรู้ของมนุษย์ นอกจากนี้เนื่องจากว่าคำนิยามตรงกับข้อกำหนดเกณฑ์ความเป็นวิชาชีพชั้นสูง เทคโนโลยีการศึกษาจึงเป็นวิชาชีพชั้นสูงสาขาหนึ่ง ประกอบขึ้นด้วยระบบการให้การสนับสนุนการปรับใช้ทฤษฎี เทคนิคเชิงปัญญา และการประยุกต์ใช้เชิงปฏิบัติการของเทคโนโลยีการศึกษา ดังนั้นคำนิยาม เทคโนโลยีการศึกษาในฐานะเป็นทฤษฎี เป็นสาขาวิชาการ เป็นสาขาวิชาการ เป็นวิชาชีพชั้นสูงนั้นจึงเป็นสิ่งที่สมเหตุผล ซึ่งตรงตามเกณฑ์ที่กำหนด ..........14. ผู้ที่เป็นสมาชิกสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาคือผู้ที่ประกอบกิจกรรมที่อยู่ภายในขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งมีพื้นฐานหลักการในขอบข่ายทางทฤษฎีและการใช้เทคนิคเชิง "ปัญญา" ของเทคโนโลยีการศึกษา ...........15 .ผู้ที่เป็นสมาชิกวิชาชีพเทคโนโลยีการศึกษาจะต้องมีคุณสมบัติ ตรงตามข้อกำหนดเกณฑ์สำหรับการปฏิบัติงานในสาขาวิชาการ ต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ในการประกอบกิจในหน้าที่ตามอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา และแสดงการยอมรับมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ และได้รับการฝึกอบรมและการรับรองตามข้อกำหนดของวิชาชีพ ได้รับพัฒนาความเป็นผู้นำ เป็นสมาชิกของสมาคมวิชาชีพ และร่วมในกิจกรรมการติดต่อสื่อสารของสมาคม โดยการอ่านวารสารหรือเข้าร่วมประชุม ได้รับการรับรองว่าเป็นสมาชิกของสาขาวิชาชีพ เป็นผู้ตระหนักในวิชาชีพในฐานะเป็นวิชาชีพที่เป็นที่ยอมรับ (วินิจฉัยจากทักษะการดำเนินงานและ การยอมรับค่านิยมที่สาขาวิชาชีพกำหนด และในความสัมพันธ์กับวิชาชีพสาขาอื่นบนพื้นฐานแห่งความเสมอภาคความร่วมมือประสานสัมพันธ์กัน) บุคคลที่มีคุณสมบัติเช่นนี้เรียกว่า "นักเทคโนโลยีการศึกษา" .........16.ความคิดรวบยอดของเทคโนโลยีการศึกษา หรือเทคโนโลยีการเรียนการสอนโดยส่วนรวม จะเห็นได้ว่ามีลักษณะเป็นแบบบูรณาการ ทำให้มีพื้นฐานหลักการร่วมสำหรับวิชาชีพต่างๆ ในทุกประเด็นที่บุคคลปฏิบัติงานนั้นอยู่ ให้การสนับสนุนการพัฒนาและบูรณาการเครื่องมือ วัสดุ และวิธีการใหม่ที่ดำเนินการร่วมกัน ..................เอกสารอ้างอิง กิดานันท์ มลิทอง 2536. เทคโนโลยีการศึกษาร่วมสมัย พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ทบวงมหาวิทยาลัย ไพโรจน์ เบาใจ 2539. แนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษาในอนาคต, เทคโนโลยีการศึกษา. สมาคมการศึกษาแห่งประเทศไทย ไทยรายวันการพิมพ์. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2542 พระราชบัญญัติการศึกษา 2542. กรุงเทพมหานคร. เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต 2528 เทคโนโลยีทางการศึกษา ภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี.สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. อรพรรณ พรสีมา 2530. เทคโนโลยีทางการสอน. โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮาส์. Association for Educational Comminations and Tecolog (AECT). Educational Technology: A Glossary of Terms. Washington D.C.: Association for Educational Communications and Technology,1977. Banathy, B.H. Instructional System. Belmont, California: Fearow Publishers, 1968. Brown. James W.; Lewis, Richard B.;and Harcleroad, Fred F. AV Instruction : Technology , Media. And Methods . 6 th ed. New York : McGraw - Hill Book Company, 1985 Dale, Edgar. Audio - Visual Methods in Teaching. 3 rd ed. New York: Holt, Rinehart and Winstion, 1969. De Kieffer, Robert E. Audio - Visual Instruction. New York : The center for Applied Research in Education, Inc., 1965. Ely, Donald P., ed. " The Field of Educational Technology : A Statement of Definition," Audiovisual Instruction. (October 1972 ),36-43. Gagne, Robert M. and Briggs, Leslie J. Principles of Instructional Design. New York : Holt, Rinehart and Winston 1974. Good, Carter V. Dictionary of Education . 3 rd ed. New York : McGraw - Hill Book Company, 1973. Heinich, Robert ; Molenda, Michael; and Russell, James D. Instructional Media and the New Technologies of Instruction. 3 rd ed. New York: John Wiley & Sons,1989 Kemp, Jerrold E. The Instructional Design Process. New York : Harper & Row, Publishers, 1985 Schramm, Wilbur. "Procedure and Effects of Msaa Communication. "Mass Media and Education. The Fifty - Third Yearbook of the National Society for the National Society for the Study of education, Part II . Edited by Nelson B. Henry. Chicago : University of Chicago Press, 1954. Shannon, laude E. and Weaver, Warren. The Mathematical Theory of Communication Champaign : the UniversityofIllinois, 1949 Wittich, Walter Arno And Schuller, Charles Francis. Audiovisual Materials : Their Nature and Use. 4 th ed. New York : Harper & Row , 1968 http://edtech.edu.ku.ac.th/edtech/wbi/index.php?module=&next=next http://edtech.edu.ku.ac.th/edtech/wbi/

from....http://www.blogger.com/feeds/8729552348258084064/posts/default

เทคโนโลยีทางการศึกษา

...............ความหมายของสื่อการเรียนการสอน..........
...............การเรียนการสอนเป็นกระบวนการสื่อความหมายระหว่างผู้เรียนและผู้สอนโดยมีตัวกลาง
เรียกว่า " สื่อการเรียนการสอน " ช่วยในการถ่ายทอดสาระการเรียนรู้ต่างๆ
...............ทบวงมหาวิทยาลัย (2546) นิยามว่า "เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา" เป็นเครื่องมือในการพัฒนาการศึกษา โดยการนำสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ โทรคมนาคม และการจัดแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้าได้ตามความต้องการ เพื่อให้การเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตทั้งด้านการศึกษาสาระความรู้ทางวิชาการ ทางศาสนา และศิลปะ วัฒนธรรม สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษาตามความหมายของทบวงมหาวิทยาลัยนั้น โดยมุ่งเน้นที่จะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้เต็มตามศักยภาพ ปราศจากข้อจำกัดด้านโอกาส ถิ่นที่อยู่ ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม
.............."เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา" ตามความหมายของร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติ หมายถึง การนำสื่อตัวนำ คลื่นความถี่ และโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการแพร่เสียง ภาพ และการสื่อสารในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ทั้งการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยครอบคลุมสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ โทรคมนาคม สื่อโสตทัศน์ แบบเรียน ตำรา หนังสือทางวิชาการและแหล่งการเรียนรู้หรือเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่นตามที่คณะกรรมการสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติกำหนด
............เนื่องจากเทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology)เป็นสาขาที่รวมเอาแนวคิดของสาขาอืนๆหลากหลายสาขาเข้ารวมอยู่ด้วยกันดังนั้นแนวคิดต่อไปนี้เป็นคำนิยามของเทคโนโลยีการศึกษาสมบูรณ์

...........1.เทคโนโลยีการศึกษา คือกระบวนการอันละเอียดซับซ้อนมีบูรณาการที่เกี่ยวกับคน การดำเนินการ ความคิด เครื่องมือ และองค์กร เพื่อการวิเคราะห์ปัญหา และการประดิษฐ์/สร้าง การปรับใช้ การประเมิน และการจัดการคำตอบต่อปัญหาทั้งหมดที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ทั้งปวงของมนุษย์
ในเทคโนโลยีการศึกษา นั้นขอบข่ายหนึ่งคือ ทรัพยากรการเรียน (Learning Resources)" ซึ่งได้รับการออก
แบบ และ/หรือ เลือก และ/หรือใช้เพื่อก่อให้เกิดการเรียนรู้ ทรัพยากรเหล่านี้ได้แก่ ข้อมูล ข่าวสาร (Messages) คน (People) วัสดุ (Materials) เครื่องมือ (Devices) เทคนิค (Techniques) และสภาพแวดล้อม (Settings)
กระบวนการสำหรับวิเคราะห์ปัญหา และประดิษฐ์/สร้าง การปรับใช้ และการประเมินคือหน้าที่การพัฒนาการศึกษาของการวิจัย-ทฤษฎี การออกแบบ การผลิต การประเมิน-เลือก การเอื้ออำนวย การใช้และการใช้-แจกจ่ายเผยแพร่
กระบวนการของการควบคุมกำกับการหรือการประสานสัมพันธ์หน้าที่ต่าง ๆ เหล่านี้คือหน้าที่การจัดการศึกษา (Educational Management Functions) ของการจัดการองค์กร และการจัดการบุคลากร (Organization Management and Personnel Management) ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ เหล่านี้ แสดงให้เห็นในแบบจำลองของขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษาตามแนวคิดของสมาคมนักเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ( AECT)ต่อไปนี้
...........- เทคโนโลยีการศึกษาเป็นทฤษฏีหนึ่งเกี่ยวกับการอธิบาย และแก้ปัญหาการเรียนรู้ของมนุษย์
...........- เทคโนโลยีการศึกษา เป็นสาขาวิชาการสาขาหนึ่ง ที่เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้กระบวนการอันละเอียดซับซ้อนมีบูรณาการเพื่อวิเคราะห์ และแก้ปัญหาการเรียนรู้ของมนุษย์
...........- เทคโนโลยีการศึกษา เป็นวิชาชีพขั้นสูงสาขาหนึ่ง ประกอบขึ้นด้วยความพยายามที่เป็นระบบเพื่อปรับใช้ทฤษฎี เทคนิคเชิงปัญญา และการประยุกต์ใช้เชิงปฏิบัติการของเทคโนโลยีการศึกษา
...........2. เทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology) แตกต่างจากเทคโนโลยีในทางการศึกษา (Technology in Education)
เทคโนโลยีในทางการศึกษาเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสำหรับกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของสถาบันต่างๆ ที่จัดการกิจการทางการศึกษา รวมทั้งการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทางด้านอาหาร สุขภาพ อนามัย การเงิน การจัดเวลา การรายงานผลการเรียน และกระบวนการอื่น ซึ่งใช้เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาในสถาบันนั้น ดังนั้นเทคโนโลยีในทางการศึกษาจึงไม่เหมือนกับเทคโนโลยีการศึกษา
..........3. เทคโนโลยีการศึกษาแตกต่างจากเทคโนโลยีการสอน
เทคโนโลยีการสอนเป็นเซทย่อยของเทคโนโลยีการศึกษาตามพื้นฐานหลักการความคิดรวบยอดที่ว่า "การสอนเป็นเซทย่อยของการศึกษา" เทคโนโลยีการสอนเป็นกระบวนการที่มีความละเอียดซับซ้อน และมีบูรณาการเกี่ยวกับคน ดำเนินงาน ความคิด เครื่องมือ และองค์กร เพื่อการวิเคราะห์ปัญหาและการประดิษฐ์/สร้าง การปรับใช้ การประเมิน และการจัดการคำตอบต่อปัญหาเหล่านั้น ในสถานการณ์การเรียนที่การเรียนรู้มีการกำหนดจุดมุ่งหมายและมีการควบคุมกำกับการ ในเทคโนโลยีการสอนนั้น คำตอบสำหรับปัญหาจะอยู่ในรูปแบบ "องค์ประกอบระบบการเรียนการสอน" (Instructional System Components)" ซึ่งได้รับการจัดทำเค้าโครงล่วงหน้าในการออกแบบหรือการเลือกและการใช้ และได้รับการรวบรวมเป็นระบบการเรียนการสอนที่สมบูรณ์แบบ องค์ประกอบเหล่านี้คือ ข้อมูลข่าวสาร (Messages) คน (People) วัสดุ (Materials) เครื่องมือ (Devices) เทคนิค (Techniques) และสภาพแวดล้อม (Settings) กระบวนการเพื่อการวิเคราะห์ปัญหาและการประดิษฐ์/สร้าง การปรับใช้ และการประเมินคำตอบ ต่อปัญหาเหล่านั้นคือ "หน้าที่การพัฒนาการเรียนการสอน (Instructional Development Functions) ของการจัดการองค์กรและการจัดการบริหารงานบุคลากร ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ แสดงอยู่ในแบบจำลองขอบข่ายของเทคโนโลยีการเรียนการสอน (Domain of Instructional Technology Model)
คำจำกัดความขององค์ประกอบต่างๆ ในแบบจำลองขอบข่ายของเทคโนโลยีการเรียนการสอน
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าทุกสิ่งของเทคโนโลยีการสอนใช้ได้เหมาะสมกับขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา ถ้าเทคโนโลยีการสอน ได้รับการใช้และปฏิบัติการได้ก็สามารถปรับใขช้กับเทคโนโลยีการศึกษาได้แต่ในทางกลับกันจะไม่เป็นความจริง เพราะว่าในเทคโนโลยีการศึกษานั้นหน้าที่พัฒนาการ และจัดการนั้นมีการรวมองค์ประกอบมากกว่าเพราะว่าประยุกต์ใช้ทรัพยากรการเรียนที่กว้างขวางกว่าองค์ประกอบระบบการเรียนการสอนโดยที่เทคโนโลยีการศึกษาจะรวมทรัพยากรทั้งหมดซึ่งใช้เอื้ออำนวยการเรียน
...........4. คำนิยามของเทคโนโลยีการศึกษาตั้งขึ้นเป็นทฤษฎีได้เพราะว่าถึงเกณฑ์ข้อกำหนดดังนี้
..........1) ความมีอยู่ของปรากฏการณ์/วัตถุ
..........2) มีคำอธิบาย
..........3) มีการสรุป
..........4) มีการนิเทศ
..........5) มีการจัดระบบ
..........6) มีคำอธิบายช่องโหว่ส่วนที่ละเลยหรือยังไม่กระจ่าง
..........7) มียุทธิวิธีเพื่อการวิจัยศึกษาค้นคว้า
..........8) มีคำทำนายผล
..........9) มีหลักการหรือชุดของหลักการ

...........5. เทคโนโลยีการศึกษามีเทคนิคเชิงวิชาการที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ซึ่งเป็นวิธีระบบเพื่อการแก้ปัญหา ในหน้าที่พัฒนาการและการจัดการแต่ละชนิดนั้น จะมีเทคนิคเชิง "ปัญญา" รวมอยู่ด้วย เทคนิคเชิง "ปัญญา" ของเทคโนโลยีการศึกษานี้มีความหมายมากกว่าผลรวมของส่วนต่างๆ เหล่านั้น มันจะรวมถึงระบบบูรณาการเทคโนโลยีแต่ละชนิดของหน้าที่เหล่านั้น และความสัมพันธ์ภายในของมัน จนเป็นกระบวนการอันละเอียดซับซ้อนและมีบูรณาการเพื่อวิเคราะห์ปัญหาทั้งหมดโดยส่วนรวม และสร้างคำตอบใหม่ อันก่อให้เกิดผลทาง "ระบบพลังสัมพันธ์รวม (synergistic)" ให้ผลลัพธ์ที่ได้ชนิดที่ไม่สามารถทำนายผลแบบการใช้องค์ประกอบต่างๆ ปฏิบัติงานตามเชิงเดี่ยว เทคนิคเชิง "ปัญญา" นี้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเทคโนโลยีการศึกษา ไม่มีสาขาวิชาการใดใช้มัน
............6. เทคโนโลยีการศึกษามีการประยุกต์ใช้เชิงปฏิบัติการ ในส่วนทรัพยากรการเรียนและการประกอบกิจของหน้าที่พัฒนาการ และการจัดการนั้นก่อให้เกิดเป็นี่เป็นพื้นฐานของการประยุกต์ใช้เชิงปฏิบัติการนี้อย่างชัดเจน นอกจากนี้การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการศึกษายังมีผลกระทบต่อโครงการสร้างการจัดระบบการศึกษาเพราะว่า 1) ทำให้ผลการปรับใช้เทคโนโลยีการศึกษาขยับสูงขึ้นไปคือ ระดับยุทธวิธีการกำหนดหลักสูตร (การตัดสินใจ) 2) ให้รูปแบบ 4 รูปแบบคือ ก) ทรัพยากรคน ข) ทรัพยากรอื่นที่ใช้หรือควบคุมกำกับการโดยคน ค) คนกับทรัพยากรอื่นร่วมกันรับผิดชอบหน้าที่ต่าง ๆ (รวมกันเป็นระบบการศึกราที่ใช้ระบบการเรียนการสอนกับสื่อสำเร็จรูป) ง) ทรัพยากรอื่น ๆ ตามลำพังอย่างเดียว (การเรียนการสอนกับสื่อสำเร็จรูป) 3) ทำให้เกิดรูปแบบสถาบันต่างๆ เพื่อเอื้ออำนวยการเรียน
.............7. เทคโนโลยีการศึกษามีแนวทางเพื่อการฝึกอบรม และมีขอบข่ายระบบสมรรถวิสัยการฝึกอบรม กลุ่มนี้สะท้อนให้เห็นลักษณะพิเศษภายในสาขาวิชา เช่น เกี่ยวกับระดับของการประกอบกิจในสาขาเฉพาะลักษณะพิเศษนี้คือ 1) การพัฒนาโครงการการเรียนการสอน 2) การพัฒนาผลิตภัณฑ์สื่อ 3) การจัดการสื่อ ระดับความซับซ้อนของภารงาน 3 ระดับได้แก่ 1) ระดับผู้ช่วย 2) ระดับช่างเทคนิค 3) ระดับผู้เชี่ยวชาญ (AECT) ได้ให้แนวทางสำหรับโครงการฝึกอบรมและการให้การรับรองแก่ช่างเทคนิค และ ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาทั้ง 3 สาขา และได้พัฒนากระบวนการเพื่อปรับใช้แนวทางนี้ด้วย)
............8. เทคโนโลยีการศึกษาได้มีมาตรการเพื่อการพัฒนา และการปรับใช้การส่งเสริมความเป็นผู้นำ การเป็นผู้นำในสาขาวิชาการจัดทำได้โดยการจัดสัมมนา หรือ การฝึกอบรมระยะสั้น นอกจากนี้เทคโนโลยีการศึกษายังให้ความรู้ในหน้าที่ความเป็นผู้นำที่บรรจุอยู่ในสาขาการศึกษา โดยโครงการความร่วมมือแบบกลุ่มเครือข่ายหรือโครงการตามความตกลงร่วมกันและสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการเผยแพร่
...........9.เทคโนโลยีการศึกษามีสมาคมและการสื่อสารในสาขาวิชาชีพ (ของสหรัฐอเมริกามีสมาคม Association for Educational Communications and Technology) และเพื่อเอื้ออำนวยต่อการติดต่อสื่อสารกับสมาชิกก็จัดให้มีวารสาร 3 ฉบับ ช่วยสนองการพัฒนาการปรับใช้ประทัดฐานและจรรยาบรรณ ความเป็นผู้นำ การฝึกอบรม และการรับรองของวิชาชีพนี้
.........10. เทคโนโลยีการศึกษาได้รับการยอมรับเป็นวิชาชีพชั้นสูงสุดสาขาหนึ่ง โดยการรับรองตัวเองจากสมาคมวิชาชีพและกิจกรรมที่ดำเนินการ
.........11.เทคโนโลยีการศึกษาดำเนินงานในบริบทของสังคมอย่างกว้างขวาง ได้รับการสนับสนุนในฐานะวิชาชีพที่เป็นที่ยอมรับของวิชาชีพต่างๆ ที่ตระหนักในเทคนิคเชิงปัญญาและการประยุกต์ใช้เชิงปฏิบัติการตามเอกลักษณ์ของเทคโนโลยีการศึกษา นอกจากนี้ในฐานะที่เป็นวิชาชีพชั้นสูงสาขาหนึ่ง เทคโนโลยีการศึกษาก็ยังเป็นที่ยกย่องในด้านต่างๆ เช่น ความเป็นอิสระทางปัญญา การแสดงออกหลักการ/กิจกรรมที่เหมาะสม ต่อต้านวัสดุปัจจัยที่ไม่พัฒนาและ แก้ไขและเพิ่มพูนเทคโนโลยีเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายแห่งความเป็นมนุษย์และชีวิตที่สมบูรณ์
...........12. เทคโนโลยีการศึกษาดำเนินการในขอบข่ายส่วนรวมทั้งหมด ของสาขาการศึกษา ในความสัมพันธ์กับวิชาชีพสาขาอื่น ๆ นั้น จะเป็นการให้การสนับสนุนที่มีความเสมอภาคทัดเทียมกันและให้ความร่วมมือกันประสานสัมพันธ์ในสาขาวิชาชีพต่างๆ นั้น
.........13. เนื่องจากคำนิยามดังที่นำเสนอมาแล้วนี้ตรงกับทฤษฎีหนึ่งที่เกี่ยวกับการอธิบาย หรือการพิสูจน์และแก้ปัญหาการเรียนรู้ของมนุษย์ และเนื่องจากคำนิยามตรงกับข้อกำหนดเกณฑ์ของสาขาวิชาการ เทคโนโลยีการศึกษาจึงเป็นสาขาวิชาการหนึ่ง ที่เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้กระบวนการอันละเอียดซับซ้อนและมีบูรณาการ เพื่อการวิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาการเรียนรู้ของมนุษย์ นอกจากนี้เนื่องจากว่าคำนิยามตรงกับข้อกำหนดเกณฑ์ความเป็นวิชาชีพชั้นสูง เทคโนโลยีการศึกษาจึงเป็นวิชาชีพชั้นสูงสาขาหนึ่ง ประกอบขึ้นด้วยระบบการให้การสนับสนุนการปรับใช้ทฤษฎี เทคนิคเชิงปัญญา และการประยุกต์ใช้เชิงปฏิบัติการของเทคโนโลยีการศึกษา ดังนั้นคำนิยาม เทคโนโลยีการศึกษาในฐานะเป็นทฤษฎี เป็นสาขาวิชาการ เป็นสาขาวิชาการ เป็นวิชาชีพชั้นสูงนั้นจึงเป็นสิ่งที่สมเหตุผล ซึ่งตรงตามเกณฑ์ที่กำหนด
..........14. ผู้ที่เป็นสมาชิกสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาคือผู้ที่ประกอบกิจกรรมที่อยู่ภายในขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งมีพื้นฐานหลักการในขอบข่ายทางทฤษฎีและการใช้เทคนิคเชิง "ปัญญา" ของเทคโนโลยีการศึกษา
...........15 .ผู้ที่เป็นสมาชิกวิชาชีพเทคโนโลยีการศึกษาจะต้องมีคุณสมบัติ ตรงตามข้อกำหนดเกณฑ์สำหรับการปฏิบัติงานในสาขาวิชาการ ต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ในการประกอบกิจในหน้าที่ตามอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา และแสดงการยอมรับมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ และได้รับการฝึกอบรมและการรับรองตามข้อกำหนดของวิชาชีพ ได้รับพัฒนาความเป็นผู้นำ เป็นสมาชิกของสมาคมวิชาชีพ และร่วมในกิจกรรมการติดต่อสื่อสารของสมาคม โดยการอ่านวารสารหรือเข้าร่วมประชุม ได้รับการรับรองว่าเป็นสมาชิกของสาขาวิชาชีพ เป็นผู้ตระหนักในวิชาชีพในฐานะเป็นวิชาชีพที่เป็นที่ยอมรับ (วินิจฉัยจากทักษะการดำเนินงานและ การยอมรับค่านิยมที่สาขาวิชาชีพกำหนด และในความสัมพันธ์กับวิชาชีพสาขาอื่นบนพื้นฐานแห่งความเสมอภาคความร่วมมือประสานสัมพันธ์กัน) บุคคลที่มีคุณสมบัติเช่นนี้เรียกว่า "นักเทคโนโลยีการศึกษา"
.........16.ความคิดรวบยอดของเทคโนโลยีการศึกษา หรือเทคโนโลยีการเรียนการสอนโดยส่วนรวม จะเห็นได้ว่ามีลักษณะเป็นแบบบูรณาการ ทำให้มีพื้นฐานหลักการร่วมสำหรับวิชาชีพต่างๆ ในทุกประเด็นที่บุคคลปฏิบัติงานนั้นอยู่ ให้การสนับสนุนการพัฒนาและบูรณาการเครื่องมือ วัสดุ และวิธีการใหม่ที่ดำเนินการร่วมกัน
..................เอกสารอ้างอิง
กิดานันท์ มลิทอง 2536. เทคโนโลยีการศึกษาร่วมสมัย พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร :
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทบวงมหาวิทยาลัย

ไพโรจน์ เบาใจ 2539. แนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษาในอนาคต, เทคโนโลยีการศึกษา.
สมาคมการศึกษาแห่งประเทศไทย ไทยรายวันการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2542 พระราชบัญญัติการศึกษา 2542.
กรุงเทพมหานคร.

เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต 2528 เทคโนโลยีทางการศึกษา ภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี.สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

อรพรรณ พรสีมา 2530. เทคโนโลยีทางการสอน. โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮาส์.

Association for Educational Comminations and Tecolog (AECT). Educational Technology:
A Glossary of Terms. Washington D.C.: Association for Educational Communications and
Technology,1977.

Banathy, B.H. Instructional System. Belmont, California: Fearow Publishers, 1968.

Brown. James W.; Lewis, Richard B.;and Harcleroad, Fred F. AV Instruction : Technology ,
Media. And Methods . 6 th ed. New York : McGraw - Hill Book Company, 1985

Dale, Edgar. Audio - Visual Methods in Teaching. 3 rd ed. New York:
Holt, Rinehart and Winstion, 1969.

De Kieffer, Robert E. Audio - Visual Instruction. New York :
The center for Applied Research in Education, Inc., 1965.

Ely, Donald P., ed. " The Field of Educational Technology :
A Statement of Definition," Audiovisual Instruction. (October 1972 ),36-43.

Gagne, Robert M. and Briggs, Leslie J. Principles of Instructional Design. New York :
Holt, Rinehart and Winston 1974.

Good, Carter V. Dictionary of Education . 3 rd ed. New York :
McGraw - Hill Book Company, 1973.

Heinich, Robert ; Molenda, Michael; and Russell, James D. Instructional Media and the New
Technologies of Instruction. 3 rd ed. New York: John Wiley & Sons,1989

Kemp, Jerrold E. The Instructional Design Process. New York : Harper & Row, Publishers, 1985

Schramm, Wilbur. "Procedure and Effects of Msaa Communication. "Mass Media and Education.
The Fifty - Third Yearbook of the National Society for the National Society for the Study of
education, Part II . Edited by Nelson B. Henry. Chicago : University of Chicago Press, 1954.

Shannon, laude E. and Weaver, Warren. The Mathematical Theory of Communication Champaign :
the UniversityofIllinois, 1949

Wittich, Walter Arno And Schuller, Charles Francis. Audiovisual Materials :
Their Nature and Use. 4 th ed. New York : Harper & Row , 1968
http://edtech.edu.ku.ac.th/edtech/wbi/index.php?module=&next=next
http://edtech.edu.ku.ac.th/edtech/wbi/

from....http://www.blogger.com/feeds/8729552348258084064/posts/default

วันศุกร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2551

แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษา

เทคโนโลยี (Technology)
คำว่า Technology มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือ Tech หมายถึง Art ในภาษาอังกฤษ และคำว่า Logos หมายถึง A study of ดังนั้น Technology จึงหมายถึง A study of art เทคโนโลยี มิใช่หมายถึงเฉพาะเครื่องจักรกับคนเท่านั้นแต่เป็นการจัดระเบียบที่มีบูรณาการและมีความซับซ้อน อันประกอบด้วยคน เครื่องจักร ความคิด วิธีการ และการจัดการ Dr. Edgar Del ได้ให้ความหมายของคำว่า "เทคโนโลยี" ว่า เทคโนโลยีมิใช่เครื่องมือ แต่เป็นแผนการ วิธีการทำงานอย่างมีระบบ ที่ทำให้บรรลุ ตามแผนการ และจาก Dictionary of Education ของ Carter V. Good กล่าวว่า เทคโนโลยี หมายถึงการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในสาขา วิชาต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพ รองศาสตราจารย์ ชม ภูมิภาค กล่าวว่า เทคโนโลยี ที่มีความหมายกว้างและเป็นความคิดที่ถูกต้อง ใช้ได้กับทุกสังคม ทุกสภาวะ ก็เห็นจะได้แก่ คำจำกัดความที่ Galbrith ให้ไว้ คือ "การประยุกต์อย่างมีระบบของความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และความรู้ด้านอื่นอันจัดระเบียบดีแล้ว ต่องานปฏิบัติ ทั้งหลาย" จากคำจำกัดความของคำว่า เทคโนโลยีที่มีผู้ให้ความหมายไว้หลายท่านดังกล่าวแล้วจะเห็นว่าแต่ละท่านก็ได้ให้ความหมายไปในทางที่สอดคล้องกัน คือ หมายถึงการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และความรู้ด้านอื่นอันจัดระเบียบดีแล้ว มาประยุกต์อย่างมีระบบ เพื่อใช้ในสาขาต่าง ๆ ด้วยการใช้ ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ประหยัดทั้งเวลา ค่าใช้จ่าย และแรงงาน สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์จริง เพื่อแก้ปัญหา ให้บรรลุจุดมุ่งหมายอย่างมี ประสิทธิภาพทั้งเป็นการจัดระเบียบที่ใบูรณาการและความซับซ้อนอันประกอบไปด้วยคนเครื่องจักร วิธีการ และการจัดการ ปัจจุบันเทคโนโลยีถูกนำมาใช้ในทุกวงการ เช่น นำมาใช้ในวงการแพทย์ เรียกว่า เทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Technology) นำมาใช้ทาง การเกษตร เรียกว่า เทคโนดลยีทางการเกษตร (Agricultural Technology)นำมาใช้ทางการอุตสาหกรรม เรียกว่า เทคโนโลยีทางอุตสาหกรรม (Industrial Technology) นำมาใช้ทางการสื่อสาร เรียกว่า เทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology) และนำมาใช้ในวงการอื่น ๆอีก มากมาย รวมทั้งนำมาใช้ในวงการศึกษา ที่เรียกว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology)

เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology)
เทคโนโลยีทางการศึกษาหมายถึงการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตรมาประยุกต์ ในการแก้ปัญหาการศึกษา การศึกษา หมายถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อันเนื่องมาจาก ประสบการณ์และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น ต้องเป็นที่ยอมรับของสังคม สภาเทคโนโลยีทางการศึกษานานาชาติ ได้ให้คำจำกัดความของ เทคโนโลยีทางการศึกษาว่า เป็นการพัฒนาและประยุกต์ระบบเทคนิคและอุปกรณ์ ให้สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์จริงได้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างเสริมการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น
ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษาที่ใช้กันทั่ว ๆ ไป หมายถึงการระดมสรรพความรู้ที่มีเหตุผล (พิสูจน์ได้) มาประยุกต์ให้เป็นระบบที่ดี สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์จริง เพื่อแก้ใขปัญหาให้บรรลุจุดมุ่งหมาย (เป้าประสงค์) ของการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด โดยการใช้ทรัพยากร อย่างประหยัด รองศาสตราจารย์ ดร.เปรื่อง กุมุท กล่าวว่า เทคโนโลยีการศึกษา คือ ระบวนการที่ซับซ้อนและประสานสัมพันธ์อย่างมี บูรณาการระหว่างบุคคล วิธีการ แนวคิด เครื่องมือ และการจัดระบบองค์การ สำหรับวิเคราะห์ปัญหา หาวิธีแก้ปัญหา ดำเนินการ ประเมินผล และจัดการแก้ปัญหาเหล่านั้น ซึ่ง เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับทุกลักษณะของการเรียนรู้ อันที่จริง แก่นแท้ของเทคโนโลยีการศึกษา ก็คือ วิธีการแก้ปัญหาให้แก่การศึกษาด้วยการคิดไตร่ตรองหาทางปรับปรุงเกี่ยวกับการเรียนการสอน ด้วยการตั้งข้อสงสัย และทำไปอย่างเป็นระบบ ก่อนหน้าที่จะมีการกล่าวถึงเทคโนโลยีทางการศึกษา เราคุ้นเคยอยู่กับ โสตทัศนศึกษากันแล้ว แม้กระทั่งเดี่ยวนี้ คนก็ยังคิดว่า โสตทัศศึกษา ก็คือ เทคโนโลยีทางการศึกษา และเทคโนโลยีทางการศึกษา ก็คือ โสตทัศนศึกษา ที่คิดอย่างนั้น ก็มีส่วนถูกอยู่บ้าง โดยเฉพาะความคิดแรก แต่มันมีความถูกต้องไม่มากนักหรือเกือบผิด ก็ว่าได้ ความคิดหลังนั้น ถูกตรงที่ โสตทัศนศึกษาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีทางการศึกษาเท่านั้น
รองศาสตราจารย์ ดร.เปรื่อง กุมุท กล่าวว่า แต่ก่อน คนที่ทำงานด้านโสตทัศนศึกษา หรือนักโสตทัศนศึกษา เรามองว่าเป็น "ผู้บริการ" โดยเฉพาะ การบริการทางด้านการจัดหา การใช้เครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์ และการผลิตสื่อการสอนให้แก่ครูผู้สอน ดังนั้น บทบาทของเขาโดยสรุปก็คือ เป็นบริกร ที่ทำหน้าที่จัดหา ผลิตสื่อการสอน และควบคุมเครื่องโสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ เมื่อมีผู้ต้องการใช้
ความคิดที่เปลี่ยนไป จริงอยู่ เราคุ้นอยู่กับภาพของนักโสตทัศนศึกษาที่เชี่ยวชาญทางการ ใช้เครื่องไฟฟ้าอีเล็คทรอนิกส์ที่เป็น นักวาด ที่เป็นช่างภาพ แม้กระทั่งช่างไม้ ช่างสี อะไรไปนั่น จนเป็นทัศนะขึ้นมาว่า นั่นคือนักโสตทัศนศึกษา เราก็เลยถือโอกาสขอบริการจากเขาในเรื่องที่เกี่ยวกับเทคนิคเฉพาะเหล่านั้น จนภาพของเขาออกมาในรูปนั้น แท้จริงแล้ว ถ้าเราจะขอรับบริการ ในเรื่องเทคนิคเฉพาะต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้ว เขาก็มีคนอยู่แล้ว ไม่ ต้องมี วุฒิถึงระดับปริญญาก็ได้ เอาแค่ ปวส. เราก็สามารถได้ช่างไฟฟ้า อีเล็คทรอนิกส์ ช่างวาด หรือกราฟิกส์ ช่างภาพ ช่างอะไรต่อช่างอะไร เรียกว่าช่างเทคนิคนั่นเอง เท่านี้ก็พอ สำหรับนักเทคโนโลยีนั้น เป็นนักประยุกต์ นักประยุกต์ก็คือนักคิด คือคิดถึงเรื่องจะนำความรู้ หรือเครื่องมืออะไรดี มาช่วยให้งานที่กำลังทำอยู่ หรือกำลังจะทำ มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ ได้ผลดี และประหยัด เรื่องเหล่านี้ต้องอาศัยนัก เทคโนโลยีทางการศึกษาในการคิดทั้งวิธีการทำงาน กับคิดทั้งเครื่องมือที่จะใช้งาน การคิดนี้ พูดไปอีกทีก็คือ "การออกแบบ" (Designing) ออกแบบทั้งวิธีการ หรือที่เรียกว่า "ระบบ"การทำงาน กับออกแบบเครื่องมือ หรือ สิ่งที่จะใช้กับงาน เช่น งานการเรียนการสอน เป็นต้น คำว่า เทคโนโลยี กับคำว่า เทคนิค นั้น มักมีผู้เข้าใจสับสน เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ความแตกต่างของ เทคโนโลยี และเทคนิคได้อย่างชัดเจน คำว่า เทคนิค นั้น หมายถึงหลักการหรือวิธีการใช้ ซ่อม ติดตั้งบำรุงรักษาเครื่องมือให้ใช้งานหรือทำงานให้ได้ ดีที่สุด ผู้ที่มีความรู้ความสามารถ รู้จักวิธิใช้เครื่องมือ ซ่อมเครื่องมือและบำรุงรักษาเครื่องมืออย่างดี เรียกว่า ช่างเทคนิค (technician) ส่วนเทคโนโลยีนั้น หมายถึงการใช้ทรัพยากรให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา และผู้ที่นำเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่า นักเทคโนโลยี(Technologist)
ส่วนมากคนจะเหมาเอาว่า นักเทคโนโลยีทางการศึกษา หรือนักโสตทัศนศึกษา คือคนที่ต่อเครื่องขยายเสียง ต่อสายลำโพง ติดตั้งไมโครโฟนควบคุมเสียง ช่างถ่ายรูป ถ่ายวีดีโอ ซ่อมวิทยุ โทรทัศน์ พัดลม เตารีด หรือ บางองค์การยังเข้าใจไปว่า นักเทคโนโลยีทางการศึกษาหรือ นักโสตทัศนศึกษาคือช่างไฟฟ้าเสียด้วยซ้ำไปเรื่องเหล่านี้ก็ต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในสาขานั้น ๆ เช่น เหตุขัดข้องเรื่องของระบบไฟฟ้าในอาคาร หรือตามท้องถนน ก็ควรเป็นหน้าที่ของช่างไฟฟ้าหากเกิดเหตุขัดข้องในเรื่องของเครื่องรับวิทยุ, โทรทัศน์, เครื่องบันทึกเสียง, เครื่องขยายเสียง, เครื่องเล่น CD, เครื่องเล่นวิดีโอ ฯลฯ ชำรุด ก็ควรเป็นหน้าที่ของช่างอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ยิ่งปัจจุบัน มีการใช้คอมพิวเตอร์กันมาก ทั้งแบบ Stand Alone ทั้งที่ต่อกันเป็นระบบ LAN (Local Area Network) และ Internet ทำให้คนเหมาเอาเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ หรือเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล หรือ ตำแหน่งอะไรก็แล้วแต่ที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ในสถานศึกษา ว่า เป็นนักเทคโนโลยีทางการศึกษาเข้าไปด้วย เพราะเขาเหล่านั้น ทำงานเกี่ยวกับ Presentation ด้วยโปรแกรม Microsoft PowerPoint ให้แก่ครูอาจารย์ หรือผู้บริหาร ได้อย่างสวยงาม แต่บางครั้ง ก็อ่านไม่ออกบนจอภาพ (Projection Screen) ขนาดใหญ่ สำหรับกลุ่มเป้าหมาย หรือผู้ชม ผู้ฟัง จำนวนมาก เช่น การใช้ สีของอักษรและสีพื้น ไม่เหมาะสม หรือใช้ขนาดของอักษร ไม่เหมาะสม ที่เรียกว่า ไม่เกิด Readability บางครั้ง ทำให้ผู้ชม ผู้ฟัง เข้าใจสับสนเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องต่าง ๆ ในการนำเสนอ ที่ไม่มีความเป็น Unity ของเรื่องย่อยแต่ละเรื่อง เป็นต้น สิ่งเหล่านี้แหละที่เราควรจะให้เกียรตินักเทคโนโลยีทางการศึกษา ให้เขาได้มีโอกาสรับใช้ ก่อนที่จะนำผลงานที่น่าภาคภูมิใจ ขึ้นบนเวทีอันทรงเกียรติ

บทบาทของเทคโนโลยีทางการศึกษากับการเรียนการสอน
เทคโนโลยีทางการศึกษามีบทบาทสำคัญต่อการศึกษามาก เพราะว่า 1. เทคโนโลยีส่งเสริม Individualized Instruction 2. เทคโนโลยีช่วยให้ไม่ต้องทำการสาธิตจริง ๆ เช่น ภาพยนตร์ เทปโทรทัศน์ หรือการเลียนแบบด้วย คอมพิวเตอร์แทน 3. เทคโนโลยีช่วยทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนทัศนะระหว่างครูกับนักเรียน ให้เป็นไปโดยรวดเร็ว และดีกว่าชั้นเรียนที่ไม่มีการใช้เครื่องกลไกเลย 4. เทคโนโลยีจะช่วยทวีคูณความรู้แก่นักเรียนมากยิ่งขึ้น เช่นการใช้วิทยุศึกษา โทรทัศน์วงจรปิด คอมพิวเตอร์ เช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) หรือที่เราได้ยินกันจนคุ้นเคยว่า CAI การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม

การเข้าสู่ระบบ (System Approach)
นักเทคโนโลยีให้ความเห็นว่า การแก้ปัญหาใด ๆ ก็ตาม จะกระทำโดยความนึกคิด ความเชื่อ และการตัดสินใจของคนใดคนหนึ่งเพียงคนเดียว ย่อมไม่ได้ผลดี ถ้าปัญหานั้น เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มชน เราจำเป็นต้องใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ การอาศัยเหตุผลของกลุ่มชนที่เกี่ยวข้องกับปัญหา เป็นผู้พิจารณาร่วมกัน วิธีการแก้ปัญหาแบบนี้ เรียกว่าแนวเข้าสู่ระบบ (System Approach)
การนำ System Approach มาใช้ เป็นการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างประหยัด ให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม และสถานการณ์ เพื่อให้การทำงานบรรลุจุดมุ่งหมายอย่างมีประสิทธิภาพ มีหลักพิจารณาว่า ระบบใดมีประสิทธิภาพ หรือมีประโยชน์มากน้อยเพียงใด จากองค์ประกอบ 3 ประการ คือ
1. Input
2. Process
3. Output
ถ้าระบบการทำงานใด Output (ทั้งปริมาณและคุณภาพ) มากกว่า Input เราก็ถือว่ารับบนั้น มีประสิทธิภาพ ถ้าระบบใด Output น้อยกว่า Input เราถือว่าระบบนั้นมีประสิทธิภาพต่ำ การที่จะแสวงหาแนวเข้าสู่ระบบ (System Approach) ได้นั้น ต้องใช้วิธีการวิเคราะห์ระบบ (System Analysis)

การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis)
การวิเคราะห์ระบบ เพื่อแสวงหาระบบที่เหมาะสม จะทำการวิเคราะห์โดยกลุ่มบุคคลที่มาจากบุคคลในส่วนต่าง ๆ ของระบบ เพราะการทำงานเป็นระบบ เราถือว่าทุกส่วนของระบบซึ่งบางครั้งเราเรียกว่า ระบบย่อย มีความสำคัญเท่าเทียมกัน แต่ละระบบทำงานในหน้าที่รับผิดชอบให้ดีที่สุด แล้วระบบรวมจะทำงานได้ดีที่สุด การวิเคราะห์ระบบ มีองค์ประกอบ 8 ประการ คือ
ขั้นที่ 1 การรวบรวมสิ่งที่เป็นปัญหา (identify problem) เราต้องศึกษาอย่างละเอียดว่ามีปัญหาใด ๆ บ้างจะทำให้เราไม่บรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ โดยการศึกษาระบบอย่างละเอียด
ขั้นที่ 2 กำหนดความมุ่งหมายของการแก้ปัญหา (define problem) เมื่อปัญหาที่รวบรวมมามีมากมาย ต้องกำหนดให้แน่ชัดลงไปว่า ในการแก้ปัญหาครั้งนี้ เราจะแก้ปัญหาอะไรบ้างจากปัญหาทั้งหมด เพราะเราไม่สามารถแก้ปัญหาได้หมดทุกปัญหา เราเลือกปัญหาที่สามารถแก้ได้ก่อน
ขั้นที่ 3 พิจารณาขอบเขตเพื่อการศึกษาข้อจำกัดทางทรัพยากร (analyse problem) ขั้นนี้เราต้องพิจารณาแยกระบบให้เป็นส่วนสัด และระบุหน้าที่ของส่วนต่าง ๆ พยายามหาทรัพยากรที่จะนำไปใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และสิ่งแวดล้อมในการแก้ปัญหา
ขั้นที่ 4 พิจารณาเลือกแนวทางแก้ปัญหา (generate alternative solutions) เราอาจจะมีวิธีการแก้ปัญหาเดียวกันได้หลายวิธี แต่เราควรจะหานวัตกรรมมาแก้ปัญหา คือการสร้างสรรค์ที่เกิดจากการที่เรามองสิ่งต่าง ๆ ในมุมใหม่ การเสนอวิธีการแก้ปัญหาหลาย ๆ วิธี เพื่อจะเลือกเอาวิธีที่ดีที่สุด
ขั้นที่ 5 พิจารณาแนวทางแก้ปัญหาที่ปฏิบัติได้จริง (select best solutions) การแก้ปัญหาแต่ละวิธีที่เสนอ อาจจะมีข้อดีข้อเสียต่างกัน เช่น บางวิธีอาจจะใช้จ่ายสูง บางวิธีทรัพยากรในท้องถิ่นไม่มี เราเลือกเอาวิธีที่ดีที่สุดที่คิดว่าเหมาะสมที่จะใช้ในสถานการณ์ตามความเป็นจริงมากที่สุด
ขั้นที่ 6 วางแผนเตรียมทดลองปฏิบัติกับกลุ่มย่อย (design action programme) เมื่อเราเลือกวิธีการที่จะแก้ปัญหาแล้ว จะต้องเตรียมวัสดุและวิธีการนั้น ไปทดลองกับกลุ่มหรือสถานการณ์ที่เป็นตัวอย่าง
ขั้นที่ 7 ทดลองปฏิบัติกับกลุ่มย่อย (experiment programme) นำวิธีการที่จะแก้ปัญหา ไปทดลองแก้ปัญหาจริง ๆ กับกลุ่มย่อยหรือสถานการณ์ตัวอย่างเสียก่อน ว่าได้ผลเพียงใด ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญที่สุด และเชื่อว่าเป็นหัวใจของการวิเคราะห์ระบบ
ขั้นที่ 8 ประเมินผลการทดลอง เพื่อปรับปรุงแก้ไขและนำไปใช้กับประชากร (monitor programme) เมือทดลองและแก้ไขจนเป็นที่พอใจแล้ว จึงนำไปใช้กับประชากรจริง ๆ ที่เราต้องการจะแก้ปัญหา

ขั้นตอนของการเข้าสู่ระบบทางการสอน
ขั้นตอนของการเข้าสู่ระบบทางการสอน มี 9 ขั้น คือ
1. ตั้งจุดมุ่งหมายของการสอนให้แน่นอน ซึ่งจะต้องเป็นจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม (behavioural objective) คือเป็นจุดมุ่งหมายที่ผู้เรียนสามารถแสดงออกเป็นพฤติกรรมที่วัดได้ ว่าพฤติกรรมขั้นสุดท้ายหลังจากสิ้นสุดการเรียนการสอนแล้ว ผู้เรียนสามารถทำอะไรได้บ้าง
จุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม คือเป้าประสงค์ที่จะให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมที่สามารถวัดและสังเกตได้ หรือเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเมื่อการเรียนสิ้นสุดลง
2. ศึกษาประสบการณ์เดิมของผู้เรียน เราจำเป็นต้องศึกษาภูมิหลังของผู้เรียน เช่น พื้นฐานความรู้ ความสนใจ สภาพสังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม เป็นต้น เพื่อจะได้จัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับประสบการณ์เดิมของผู้เรียน
3. วางแผนการสอน ไม่มีวิธีสอนวิธีหนึ่งวิธีใดที่เหมาะสมกับการเรียนการสอนทุกสถานการณ์ ผู้สอนต้องพิจารณาถึงจุดมุ่งหมายของการสอนที่เราคาดหวังเอาไว้ จะต้องพิจารณาประสบการณ์เดิมของผู้เรียน รวมทั้งพิจารณาทางด้านทรัพยากรที่มีอยู่ในสถานการณ์นั้น ๆ เพื่อนำมาใช้ในการเรียนการสอนให้เหมาะสม จะทำให้การวางแผนการสอนบรรลุจุดมุ่งหมายที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผู้วางแผนที่ดี จะต้องคำนึงถึงสภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนว่า สถานการณ์ที่ทำให้การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ คือสถานการณ์ดังต่อไปนี้
3.1 Active Participation คือให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน ไม่ใช่เป็นผู้ฟังอย่างเดียว
3.2 Immediate Feedback ให้ผู้เรียนทราบผลของการปฏิบัติ หรือผลการเรียน ผลการกระทำกิจกรรมของตนโดยเร็ว
3.3 Successful Experience ให้มีประสบการณ์แห่งความสำเร็จ ในสถานการณ์การเรียนรู้ ถ้าผู้เรียนสามารถทำกิจกรรมในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง ก็จะเป็นการเสริมแรง ให้ผู้เรียน สนใจ ตั้งใจ มีกำลังใจ อยากจะเรียน หรือปฏิบัติกิจกรรมในขั้นต่อ ๆ ไป
3.4 Gradual Approximation เป็นการจัดสภาพการเรียนรู้ให้ผู้เรียน เรียนไปทีละขั้นตอน จากง่ายไปหายาก เรียนรู้จากสิ่งที่คล้ายคลึงกับประสบการณ์เดิมไปสู่สิ่งใหม่เป็นขั้นตอนทีละน้อย
4. การจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกในการสอน เช่น สถานที่เรียน การจัดที่นั่ง ที่วางวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ จัดสถานที่ให้เหมาะสมกับวิธีการสอน ไม่จำเป็นต้องให้ผู้เรียนหันหน้ามาทางหน้าชั้นเรียนอย่างเดียวเท่านั้น อาจจัดเป็นรูปตัวยู วงกลม หรือครึ่งวงกลม ขึ้นอยู่กับการวางแผนการสอน
5. บุคลากรในการเรียนการสอน บุคคลสำคัญคือผู้เรียน และบุคคลต่อมาคือผู้สอน การเรียนการสอน ผู้สอนไม่จำเป็นต้องสอนด้วยตนเองทั้งหมด ผู้เรียนบางคนอาจมีความสามารถให้ความรู้แก่เพื่อน ๆ ได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมาย และการวางแผนการสอน
6. การใช้สื่อการสอน เนื่องจากสื่อการสอนมีมากมาย ผู้สอนจำเป็นต้องตัดสินใจเลือกสื่อที่จะใช้ในการเรียนการสอนให้บรรลุจุดมุ่งหมาย โดยคำนึงถึงประสบการณ์เดิม การตอบสนองของผู้เรียน และสื่อที่สามารถจัดหาได้ โดยพิจารณาถึง
ก. ตรงจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้
ข. เหมาะกับการตอบสนองของผู้เรียนที่คาดว่าจะได้รับ
ค. เหมาะกับประสบการณ์เดิมของผู้เรียน
ง. เป็นสื่อการสอนที่พอหาได้
ในทางเทคโนโลยีทางการศึกษา เราอาจจำแนกสื่อการสอนออกได้ 3 ลักษณะ คือ
1. Hardware ได้แก่สื่อใหญ่ทั้งหลาย ซึ่งมักประกอบไปด้วยกลไกไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครื่องฉายสไลด์ , เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (Overhead Projector) เครื่องเล่นวิโอเทป, เครื่องเล่น CD, เครื่องคอมพิวเตอร์ กล้องถ่ายภาพ, กล้องถ่ายวิโอ, เครื่องรับโทรทัศน์ เป็นต้น ตัวของมันเองแทบจะไม่มีประโยชน์ต่อการสื่อความหมาย ถ้าไม่มีความรู้ในรูปแบบอื่นมาป้อนผ่านเครื่องมือเหล่านี้ ตัวอย่างเช่น เครื่องฉายสไลด์ ก็ต้องมีภาพสไลด์ มาป้อนแล้วฉายไปบนจอ จึงจะสื่อความหมายได้ เครื่องคอมพิวเตอร์ ก็ต้องมีโปรแกรมต่าง ๆ ที่เรียกว่า Software มันจึงจะทำงาน หรือสื่อความหมายได้ เป็นต้น
2. Software ได้แก่สื่อเล็กที่เราเรียกว่าวัสดุ บางแบบต้องอาศัย Hardware ในการนำเสนอ เช่น ภาพสไลด์ ก็ต้องอาศัยเครื่องฉายสไลด์ ม้วนวิดีโอเทป ที่เป็นรายการบทเรียนต่าง ๆ ก็ต้องอาศัยเครื่องเล่น หรือเครื่องฉายวิดีโอเทป บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่เขียนไว้ ใน CD-ROM ก็ต้องอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น แต่ Software บางชนิดก็ไม่ต้องอาศัย Hardware ในการนำเสนอ เช่น แผนที่, แผนภาพ, แผนภูมิ , ภาพพลิก, แผนสถิติ เป็นต้น ตัวของมัน สามารถสื่อความหมายได้ในตัวของมันเอง
3. Technique or Methods เป็นเทคนิค หรือวิธีการถ่ายทอดความรู้ ซึ่งก็ถือว่าเป็นสื่อการสอน เช่น การสาธิต, การแสดงละคร, การแสดงบทบาทสมมุติ, การจัดนิทรรศการ, การศึกษานอกสถานที่ เป็นต้น

ขั้นที่ 7 ทดลองสอน ผู้สอนควรจะทดลองสอนตามแผนที่วางไว้ กับผู้เรียนกลุ่มเล็ก ๆ เพื่อศึกษาข้อบกพร่อง นำไปปรับปรุงการสอนในความเป็นจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขั้นที่ 8 ขั้นดำเนินการสอนตามแผนที่วางไว้ เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้
ขั้นที่ 9 การประเมินผลและการปรับปรุง การเรียนการสอนที่ดี เมื่อการสอนเสร็จสิ้น เราต้องประเมินผลว่า การเรียนการสอนบรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้เพียงใด วิธีการที่ใช้ในการเรียนการสอน และสื่อการสอน เหมาะสมกับผู้เรียนหรือไม่ ควรจะปรับปรุงอะไรบ้าง เพื่อจะทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป

เทคโนโลยีการสอน
การสอน คือการกระทำทั้งหลายที่เป็นระบบของครูเพื่อส่งเสริมให้ความความสะดวกต่อ การเรียนรู้ของผู้เรียน การเสนอจึงเป็นระบบของการกระทำของครู ซึ่งจะต้องพิจารณาว่าระบบ การสอนนั้นย่อมประกอบด้วยหลายส่วน แต่ละส่วนนั้นมีผลต่อกันและกันทุกส่วนในระบบ มุ่งให้ เกิดการเรียนรู้ในตัวผู้เรียน และผลการเรียนรู้นั้นเองมีผลต่อส่วนต่างๆ ในระบบด้วยกิจกรรม ในการสอนนั้น ย่อมมีทั่งกิจกรรมในการเตรียมการ และการปฏิบัติกับผู้เรียน การเตรียมการ นั้นอาจจะได้แก่การเตรียมบทเรียน จัดห้องเรียน จัดอุปกรณ์ในชั้นเรียน การให้คะแนน การ อ่านหนังสือ การนึกถึงพฤติกรรมบางอย่างของนักเรียน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นตอนที่ครูอยู่คน เดียว ซึ่งเรียกว่า Practive Teaching ตอนสอนที่กระทำร่วมกับนักเรียนนั้นเรียกว่า Interactive Teaching นั้น คุณภาพทางสมองต้องรวดเร็ว ต้องมีการปรับตัวอย่างรวดเร็ว .
Interactive Teaching นั้นมีหลายสถานะ อาจจะเป็นแบบสาธารณะ กึ่งสาธารณะ หรือ เป็นส่วนตัว การสอนแบบสาธารณะนั้นครูกับนักเรียนหันหน้าเข้าหากัน ส่วนแบบส่วนตัวนั้น อาจ นั่งเคียงกัน เสียงเบาลง เกิดความเป็นกันเองมาก และมีการสอดแทรกมากกว่า

เทคโนโลยีการสอน (Instructional Technology) หมายถึงการออกแบบ การพัฒนาการใช้ และการประเมินผลการเรียนการสอนอย่างมีระบบ โดยยึดจุดประสงค์เฉพาะ การวิจัยเกี่ยวกับ การเรียนรู้และการสื่อสารของมนุษย์เป็นพื้นฐาน รวมทั้งการใช้แหล่ง ทรัพยากรมนุษย์ร่วมกัน เพื่อให้เกิดผลเป็นการสอนที่มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ จากความ หมายดังกล่าว เราจะเห็นว่าเทคโนโลยีทางการสอนนั้น เป็นการจัดการเกี่ยวกับการสอนที่มี ระบบ ซึ่งจะต้องพิจารณาส่วนต่างๆ ที่ประกอบกันเข้าหลายส่วน เริ่มตั้งแต่จุดประสงค์ และส่วน อื่นๆ ซึ่งมีทั้ง เป็นเรื่องของคน และมิใช่คน การพิจารณาการออกแบบและการปฏิบัติ เช่นนี้จะต้องอาศัย ผลของการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้ และการสื่อสารของมนุษย์ จะถือว่า การกระทำทุกขั้นตอน และทุกส่วนนั้นเป็นระบบเดียวกัน ทุกส่วนมีผลเกี่ยวเนื่องกัน การเปลี่ยนแปลงส่วนใดส่วนหนึ่ง ย่อมมีผลทำให้เปลี่ยนแปลงส่วนอื่นๆ ไปด้วย ที่ว่าการออกแบบ การพัฒนา การใช้ และ การประเมินผลการเรียนการสอนอย่างมีระบบนั้น คำว่า ระบบ (System) นั้น มีผู้ให้ คำจำกัดความไว้หลายแห่ง เช่น Webster's Seventh New Collegiate Dictionary ได้ให้ความหมายของระบบไว้ว่า เป็นกลุ่มของสิ่งต่างๆ ซึ่งต่างก็พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน หรือมีปฏิพันธ์กันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดส่วนรวม ที่เป็นเอกภาพ บางคนกล่าวว่า เป็นโครงสร้างหรือองค์การของส่วนรวม ที่มีความเป็นระเบียบ และให้เห็นความสัมพันธ์ ของส่วนต่างๆ และความสัมพันธ์ของแต่ละส่วนกับส่วนรวมทั้งหมด อย่างชัดเจน ดังนั้น เทคโนโลยีย่อมจะต้องมีส่วนต่างๆ มากมาย และแต่ละส่วนมีผล ต่อกันและกัน และต่างก็มุ่งเพื่อให้มุ่งหมายร่วมกัน การใช้เทคโนโลยีในกิจกรรมต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่จะต้อง พิจารณาถึงผลรวมของส่วนต่างๆ ที่จะมีต่อกันและกัน ตลอดจนการที่ ส่วนต่างๆ จะมีผลต่อ ความสำเร็จของหน่วยงานอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
ส่วนในด้านความหมายของการสอนซึ่งตรงกับคำว่า Instruction มีผู้ให้ความหมายไว้ ต่างๆ กัน เช่น การสอนเป็นการถ่ายทอดความรู้จากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง การสอน เป็นการสร้าง การใช้ และปรับปรุงยุทธศาสตร์และยุทธวิธีของการสอนในห้องเรียนการสอน เป็นการกระทำที่เป็นระบบของครู เพื่อสร้างภาวะอันจะก่อให้เกิดความสะดวกแก่การเรียนรู้ ของผู้เรียน หากพิจารณาความหมายของการสอนตามนัยดังกล่าวมาแล้ว ความหมายของ การสอนที่กล่าวว่า "เป็นการกระทำที่เป็นระบบของครู เพื่อสร้างภาวะอันจะก่อให้เกิดความ สะดวกแก่การเรียนรู้ของผู้เรียน" เป็นความหมายของการสอนที่มีความหมายกว้าง ครอบคลุม ลักษณะของพฤติกรรมการเรียนรู้สมัยใหม่ที่สุด เพราะการเรียนรู้นั้นนักเรียนเป็นผู้กระทำเอง ภายใต้ภาวะที่ผู้สอนสร้างขึ้น เมื่อการสอนมีความหมายดังกล่าวเช่นนี้แล้ว เทคโนโลยีการสอน จึงเป็นการดำเนินการอย่างมีระบบ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล หากถือว่าการศึกษา เป็นระบบ (System) การสอนก็เป็นระบบรองของการศึกษา เทคโนโลยีการสอนจึงเป็นชุดรอง หรือระบบรอง (Sub-set หรือ Sub-System) ของเทคโนโลยีทางการศึกษา



อ้างอิงจาก
http://www.bcnlp.ac.th/~sophon/techno/edtech-conceptno1.html

ความหมาย เทคโนโลยี เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษา

ความเจริญในด้านต่างๆ เป็นผลมาจากการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง หรือการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆโดยอาศัย ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และประยุกต์มาใช้ในการพัฒนางานทางด้านต่างๆ ที่เรียกว่า “ เทคโนโลยี ” (Technology)
ความหมายของเทคโนโลยี จากแนวคิดต่างๆ อาจกล่าวได้ว่า “ เทคโนโลยี ” หมายถึงการนำ แนวคิด หลักการ เทคนิค วิธีการกระบวนการตลอดจนผลิตผล ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในระบบงานต่างๆ เพื่อปรับปรุง ระบบงานนั้นๆ ให้ดีขึ้นและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จะเห็นได้ว่า ในปัจจุบันในวงการต่างๆ เช่น เกษตร แพทย์ อุตสาหกรรม ธุรกิจ ทหาร ต่างก็นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ ต่อสาขาวิชาชีพของตนอย่างเต็มที่ อันจะเอื้ออำนวยในด้าน ต่างๆ ดังนี้
1. ด้านประสิทธิภาพ (Efficiency) เทคโนโลยีจะช่วยให้การทำงานนั้นสามารถบรรลุผล ตามเป้าหมายได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
2. ด้านประสิทธิผล (Effectiveness) เทคโนโลยีจะช่วยให้การงานนั้นได้ผลผลิตออกมาอย่างเต็มที่
3. ด้านประหยัด (Economy) จะช่วยประหยัดเวลา ทรัพยากร และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด อันจะเป็นผลทำให้ราคาของผลิตผลนั้นราคาถูกลง
4. ด้านปลอดภัย (Safety) เป็นระบบการทำงานที่อำนวยให้เกิดความปลอดภัยเพิ่มขึ้น
ในปัจจุบัน ได้มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาด้านต่างๆ ในหลายวงการ เช่น ถ้านำมาใช้ในวงการทหาร เรียกว่า เทคโนโลยีการทหาร นำมาใช้ในการพัฒนางานการผลิตเครื่องมือและวิธีการต่างๆในทางการแพทย์ เรียกว่า เทคโนโลยีทางการแพทย์ เช่น การผ่าตัดด้วยแสงเลเซอร์ เครื่องมือการเกษตรเช่น การสร้างเครื่องมือสำหรับเกี่ยวข้าว ไถนา หรือ นวดข้าว สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้การทำงานเป็นไปอย่าง สะดวก รวดเร็ว ประหยัดทั้งแรงงานและค่าใช้จ่าย ถ้าเป็นการนำมาใช้ในงานด้านธุรกิจ ได้แก่ การนำคอมพิวเตอร์มาช่วยจัดระบบงานต่างๆ เช่น การเบิกจ่ายเงินธุรกิจธนาคาร อาทิ การฝากถอนเงินด้วยบัตร ATM หรือการโอนเงินด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ตลอดจน ระบบการผลิตสินค้าในโรงงาน ฯลฯ
จากประโยชน์นานัปการที่ได้รับจากเทคโนโลยีที่มีต่อการพัฒนาด้านต่างๆดังกล่าวข้างต้น
เช่นเดียวกันทางด้านการศึกษาได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาระบบการศึกษาให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เรียกว่า เทคโนโลยีการศึกษา ( EducationalTechnology ) ทั้งนี้เพื่อมุ่งเน้นให้การดำเนินการจัดการศึกษาซึ่งเป็นหลักที่สำคัญในการพัฒนา ประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา คณะกรรมการกำหนดศัพท์และความหมายของสมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาของ สหรัฐอเมริกา ( AECT, 1979 ) อธิบายว่า “ เทคโนโลยีการศึกษา ” ( Educational Technology ) เป็นกระบวนการที่มีการบูรณาการอย่างซับซ้อน เกี่ยวกับบุคคล กรรมวิธี แนวคิด เครื่องมือ และองค์กร เพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์ปัญหา สร้าง ประยุกต์ใช้ ประเมินผล และจัดการแก้ปัญหาต่างๆ ดังกล่าวที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของมนุษย์ในทุกลักษณะ อาจกล่าวได้ว่า “ เทคโนโลยีการศึกษา ” และขั้นตอนการแก้ปัญหาต่างๆ รวมถึงแหล่งการเรียนรู้ที่ได้มีการออกแบบ เลือก และนำมาใช้เพื่อใช้ เพื่อมุ่งสู่จุดมุ่งหมาย คือ การเรียนรู้ นั่นเอง
เทคโนโลยีการศึกษา หรือเทคโนโลยีการสอน (Instructional Technology) หมายถึงทฤษฎี และการปฏิบัติเกี่ยวกับ การออกแบบ การพัฒนา การใช้ การจัดการ และการประเมิน ของกระบวนการและแหล่งการเรียน สำหรับการเรียนรู้ (Seels, 1994)
จากความหมายดังกล่าว จะเห็นได้ว่า แหล่งการเรียน อาจจำแนกได้เป็น สาร (Message) คน(People) วัสดุ (Materials) เครื่องมือ (Devices) เทคนิควิธีการ (Techniques and Setting) กระบวนการในการวิเคราะห์ปัญหา และการสร้าง หรือผลิต การนำไปใช้ ( Implemen ting) ตลอดจนการประเมินการแก้ปัญหานั้น จะกล่าวไว้ในส่วนของการพัฒนาการวิจัยเชิงทฤษฎี การออกแบบ การผลิต การประเมินผล (Evaluation Section) ตรรกศาสตร์ (Logistics) การใช้และการเผยแพร่ ส่วนในเรื่องของ กระบวนการ ของการอำนวยการหรือการจัดการส่วนหนึ่งจะกล่าวไว้ในเรื่องของการบริหารจัดการองค์กร บุคคล ความสัมพันธ์ของส่วนประกอบดังกล่าวแสดงไว้ในโมเดลของขอบข่ายของ เทคโนโลยีการศึกษาที่จะกล่าวต่อไป
จากความหมายของสมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาของสหรัฐอเมริกา ดังกล่าวข้างต้น ได้มีการขยายแนวคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษาเพราะการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากการ เปลี่ยนกระบวนทัศน์จากพื้นฐานทาง ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม ( Behaviorism ) มาสู่ พุทธิปัญญานิยม (Cognitivism) และ คอนสตรัคติวิสต์ (Constructivism) กอปรทั้งความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร จึงได้มีการปรับเปลี่ยนความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาให้เหมาะสมกับสภาพ ความเปลี่ยนแปลง ดังนี้ ความหมาย “ นวัตกรรม ” จากความหมายของ “นวัตกรรม” ที่มีผู้ให้นิยามไว้สามารถสรุปได้ว่า “นวัตกรรมการศึกษ ” คือการนำสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจจะเป็นความคิดหรือการกระทำ หรือสิ่งประดิษฐ์ขึ้น โดยอาศัยหลักการ ทฤษฎี ที่ได้ผ่านการทดลองวิจัยจนเชื่อถือได้ เข้ามาใช้ในการศึกษา เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพของ การเรียนการสอน ลักษณะเด่นที่จัดว่าเป็นนวัตกรรมการศึกษา
1. จะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมด หรือบางส่วนอาจใช้เป็นของเก่าที่ใช้ในอดีตแล้วนำมาปรับปรุง ใหม่ให้ดียิ่งขึ้น
2. มีการ ศึกษา ทดลอง โดยอาศัยหลักการ ทฤษฎี มาใช้อย่างเป็นระบบ
3. มีการพิสูจน์ด้วยการทดลองหรือวิจัย
4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน หากว่าสิ่งใหม่นั้นได้มีการเผยแพร่จนกลายเป็น สิ่งที่ยอมรับกันโดยทั่วไป แล้วจะกลายเป็นเทคโนโลยี

เทคโนโลยีสื่อ

เทคโนโลยี (Technology) ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525
“เทคโนโลยี หมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิดระโยชน์
ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม” การทำงานโดยใช้เทคโนโลยี เป็นการทำงานโดยนำความรู้ทางวิทยา
ศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานนั้นให้มีผลดีมากยิ่งขึ้น
ลักษณะของเทคโนโลยีสามารถจำแนกได้ 3 ลักษณะคือ
1) เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ (Process)
“เป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ หรือความรู้ต่าง ๆ ที่รวบรวมไว้ เพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติ โดยเชื่อว่าเป็นกระบวนการที่เชื่อถือได้และนำไปสู่การแก้ปัญหาต่าง ๆ”
2) เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต (Product)
หมายถึง วัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นผลมาจากการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี เช่น วีดีทัศน์ ฟิลม์ หนังสือ
3) เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต (process & product) เช่น ระบบการส่งข้อมูล และระบบคอมพิวเตอร์
นวัตกรรม (Innovation)
เทคโนโลยีในปัจจุบันก่อให้เกิดการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้าน วัสดุ อุปกรณ์ เทคนิควิธีการ เพื่อช่วยในการดำรงชีวิตและการทำงานให้สะดวกสบายขึ้น
นวัตกรรม ถือเป็นแนวความคิด การปฏิบัติ คิดสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน
หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น
(1) ด้านประสิทธิภาพของงาน (Efficiency) และประสิทธิผล (Effectiveness)
ประสิทธิภาพ คือ ช่วยให้การทำงานบรรลุผลตามเป้าหมายได้เที่ยงตรงและรวดเร็ว
ประสิทธิผล คือ ถูกต้องได้ผลตามที่ต้องการ
(2) ผลผลิต (Productivity) คือ ได้ผลผลิตออกมาอย่างเต็มที่
(3) ประหยัด (Economy) ประหยัดคือได้ผลคุ้มค่า ทั้งเวลาและแรงงาน
การรับนวัตกรรม ต้องพิจารณาถึง ประโยชน์ที่จะได้รับ ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความคุ้มค่าในการใช้ โดยคำนึงถึง
มีจุดเด่น ที่มีการใช้กันอยู่ในปัจจุบันมากน้อยเพียงใด
เหมาะสมกับระบบและสภาพที่เป็นอยู่
มีการวิจัยหรือกรณีศึกษาว่าใช้ได้ดีในสภาวะการณ์
เกี่ยวข้องกับความต้องการของผู้ใช้
ตัวอย่าง เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ ต้องคำนึงถึง มีบุคลากรที่มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์

ปรัชญาเกี่ยวกับสื่อ

1 การกำหนดปรัชญาของงานสื่อ
การจะปฏิบัติงานใด ๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ผู้บริหารจะต้องมีกรอบและปรัชญาของการทำงาน ทั้งนี้ผู้บริหารจะต้องรู้จักตัวเอง หมายถึง ศักยภาพของตนเอง รู้จักลูกค้า รู้จักบุคลากรผู้ร่วมงาน ไม่ว่าจะเป็นผู้บังคับบัญชา หรือผู้ใต้บังคับบัญชา จึงจะสามารถทำงานร่วมกันอย่างราบรื่น โดยมีปรัชญาเป็นจุดหมายของการดำเนินงาน มีผู้กล่าวว่าวิสัยทัศน์ (vision) เป็นเสมือนพลังที่จะช่วยผลักดันให้คนไปสู่จุดหมายปลายทางได้สำเร็จ สิ่งที่จะช่วยในการกำหนดแนวทางของปรัชญา ซึ่งเกี่ยวข้องกับการบริหารและการวินิจฉัยสั่งการนั้นมองได้จากขั้นตอนการแก้ปัญหา ซึ่งประกอบด้วยหลายขั้นตอนดังนี้
ระบุปัญหาแต่ละปัญหาให้สั้น กะทัดรัด และชัดเจนที่สุด
ระบุปรัชญาของบริษัทหรือสถาบันที่ตนทำงานอยู่
กำหนดปรัชญาของตนว่าคืออะไร และสัมพันธ์กับปรัชญาของบริษัทอย่างไร
ระบุภารกิจของฝ่าย/แผนกงาน และความสัมพันธ์กับภารกิจของบริษัท
องค์ประกอบและปรัชญาที่กล่าวมานี้ จะช่วยในการวิเคราะห์แนวทางของการดำเนินการและการแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น ปรัชญาหรือสโลแกน (Slogan) ของพนักงานร้าน McDonald คือ Q, S, C, และ V ได้แก่ คุณภาพ (Quality) บริการ (Service) ความสะอาด (Cleanliness) และมีคุณค่า (Value) ในส่วนของบริษัทอุตสาหกรรมจะเน้นปรัชญาของบริษัทที่จะต้องควบคุมปัจจัยนำเข้าเพื่อการผลิตออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ และพนักงานที่ทำหน้าที่ประกอบการผลิต เพื่อเน้นผลผลิตที่ดี ใช้ง่าย ทนทาน เป็นต้น
ในสถาบันการศึกษา ปรัชญาของการดำเนินงานส่วนใหญ่จะเน้นว่า “ความต้องการของนักศึกษาจะต้องมาเป็นอันดับแรก” ผู้จัดการสื่อจะต้องหาข้อมูลว่าความต้องการเหล่านั้นคืออะไร และหน่วยงานจะสามารถสนองตอบต่อความต้องการได้มากน้อยเพียงใด หากจะต้องใช้แนวปรัชญาของร้าน McDonald คือ Q, S, C, V มาวิเคราะห์ จะสามารถพิจารณาได้ดังนี้ คุณภาพ หมายถึงของที่ให้บริการ วิธีการบริการ อาคารสถานที่ และสิ่งแวดล้อมที่ดี บริการ หมายถึงบริการที่รวดเร็ว มีจิตบริการ สุภาพ มีอัธยาศัยดี ตลอดจนความช่วยเหลือ ความสะอาด ความสะอาด ความเป็นระเบียบ และสวยงาม ดึงดูดผู้ใช้ คุณค่า ผู้ใช้ได้รับประโยชน์คุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายที่เสียไป แนวทางที่ใช้ในการกำหนดปรัชญา มีการใช้คำสำคัญ เช่น “ความรู้มาก่อนการกระทำ” “ต้องเตรียมพร้อม” “วางแผนล่วงหน้า” “ปฏิบัติเชิงรุก” “ใช้วิธีการที่ง่าย” “ต้องฟังและฟังมากขึ้น” “แบ่งงานอย่างมีเหตุมีผล” เป็นต้น
2 องค์ประกอบที่ใช้กำหนดปรัชญา
1) การบริการ (Service) เช่น
การให้ความพึงพอใจแก่ผู้ใช้
มีประวัติของการให้บริการที่ดี
การตอบสนองความต้องการของผู้ใช้
ความสามารถที่จะให้บริการลูกค้าได้ทุกประเภท
ปรัชญาของบริการคือ ไม่มีปัญหาใดที่ใหญ่เกินไปหรือเล็กเกินไป ฯลฯ
2) บุคลากรผู้ร่วมงาน (Staffing) เช่น
บุคลากรต้องมีคุณสมบัติสูงและเหมาะสมกับวิชาชีพ
ความเข้มแข็งของการจัดการบุคคล
ความเป็นผู้นำ
ความมีคุณภาพ
การอุทิศตนกับงาน ฯลฯ
3) การสนับสนุนด้านบริหาร (Administrative support) เช่น
การได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหาร
การสนับสนุนด้านการบริหาร
การสนับสนุนด้านการเงินและงบประมาณให้เพียงพอ ฯลฯ
4) การติดต่อสื่อสาร (Communication) เช่น
รักษาความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับลูกค้า
การติดต่อกับลูกค้าเพื่อคาดหาและประเมินความต้องการ ฯลฯ
5) การจัดองค์การ (Organizational arrangement) เช่น
ความสามารถที่จะรายงานผู้บริหารได้โดยตรง
การรวมศูนย์ทรัพยากร แทนที่จะแบ่งกระจาย
การบูรณาการทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้ ให้เป็นโปรแกรมเดียว ฯลฯ
6) อื่น ๆ เช่น การมีระบบการสื่อสารโทรคมนาคมที่ดี ฯลฯ

งานของศูนย์สื่อ (Functions of a media center)

1) การเลือกและจัดหาวัสดุสื่อ (Materials selection and acquisition)
การพิจารณาคุณค่าของวัสดุและอุปกรณ์แต่ละชนิดว่ามีคุณค่าต่อการใช้งานตามปรัชญา และวัตถุประสงค์มากน้อยเพียงใด เพื่อให้การจัดซื้อจัดหา เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์เต็มที่ แต่ประหยัดงบประมาณ
2) การเลือกอุปกรณ์ (Equipment Selection)
การพิจารณาหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เช่น ความคงทน ความสะดวกในการใช้งาน เป็นต้น

3) การให้บริการยืมคืน (Circulation)
กระบวนการและแนวทางการให้บริการ
4) การบำรุงรักษา และการซ่อม (Maintenance and repair)
วัสดุอุปกรณ์สื่อจำเป็นต้องมีกำหนดเวลา และขั้นตอนการบำรุงรักษา
5) การออกแบบ และการผลิตสื่อ (Design and Production Function)
การกำหนดขอบเขตการบริการการผลิตสื่อ เพื่อการเรียนการสอน
6) การออกแบบเครื่องอำนวยความสะดวก (Facility design)
การออกแบบการใช้เทคโนโลยีช่วยการสอนในชั้นเรียน และการศึกษาทางไกล
7) การพัฒนารูปแบบ วิธีการสอน (Instructional development)
ระบบการเรียนรู้ เครื่องมือช่วยการสอน และการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
8) การฝึกอบรมบุคลากร (Faculty / staff development and training)
9) การประเมินผล (Evaluation)

การจัดการสื่อ

บทบาทหน้าที่ของผู้จัดการสื่อ
ผู้บริหารสื่อมีหน้าที่รับผิดชอบอย่างกว้าง ๆ 2 ประเภท คือ 1) ดำเนินงาน 7 ประการตามรายการข้างล่าง และ 2) ความพึงพอใจในงาน ของผู้ใต้บังคับบัญชา
1) การจัดโปรแกรมสื่อ (Media program management)
การกำหนดเป้าหมาย และวัตถุประสงค์
การวางแผนระยะยาว
การดำเนินงานเพื่อการบริการอย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดหา ให้บริการสื่อ ฯลฯ
2) การจัดการงานบุคคล (Personnel management)
กำหนดความต้องการจำนวนบุคลากร
กำหนด ภาระหน้าที่งาน
จัดหา จัดจ้างบุคลากร
การฝึกอบรม
การประเมินผลการปฏิบัติงาน ฯลฯ
3) การจัดการด้านการเงิน (Fiscal program management)
กำหนดความต้องการใช้จ่าย
จัดเตรียมงบประมาณ และเหตุผลของงบประมาณ ฯลฯ
4) การจัดการประชาสัมพันธ์ (Public relations management)
การประชาสัมพันธ์ ผู้ใช้ ผู้บริหาร
การเผยแพร่งานบริการ ฯลฯ
5) การพัฒนารูปแบบวิธีการสอน (Instructional development)
ช่วยผู้สอนวิเคราะห์ลักษณะอุปนิสัยของผู้เรียน
ช่วยผู้สอนให้เข้าใจวัตถุประสงค์ได้ชัดเจน ฯลฯ
6) การออกแบบเครื่องอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับสื่อ (Media facility design)
การใช้สื่อพื้นฐาน และมาตรฐานในชั้นเรียน ฯลฯ
7) ความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ (Professional responsibilities) ศึกษาเอกสารวารสารและทำวิจัย ฯลฯ

ศูนย์สื่อ (Media Center)

สื่อ (Media) หมายถึง วัสดุที่ให้สารสนเทศในตัวเอง หรืออุปกรณ์เครื่องมือในการนำเสนอสารสนเทศ หรือบริการต่างๆ
สื่อโสตทัศน์ สื่อที่ให้สารสนเทศด้วยการฟังและการดู ให้ภาพและเสียงช่วยให้ผู้ใช้เกิดจินตนาการที่ชัดเจน สามารถเข้าใจเรื่องที่เป็นแนวคิดหรือนามธรรม ซึ่งยากต่อการถ่ายทอดหากใช้การฟังการบรรยายหรือ การอ่าน
สื่อช่วยในการถ่ายทอดสารสนเทศ และสนับสนุนในด้านการอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ได้รับสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ การเรียนการสอน การฝึกอบรม จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการรูปแบบ ให้ทันกับความก้าวหน้า และวิทยาการของโลก เช่น สื่อการศึกษาช่วยให้ผู้เรียนสามารถอาศัยสื่อเพื่อเป็นเครื่องเสริมช่วยประกอบทักษะในการศึกษาเพิ่มเติมให้ทัดเทียมผู้อื่นได้ การแก้ปัญหาทางการศึกษาในปัจจุบันคือ การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในวงการศึกษาที่เราเรียกว่า “เทคโนโลยีการศึกษา”
การนำสื่อมาให้บริการ ส่วนใหญ่ในสถาบันการศึกษา จะมีการจัดตั้งแผนกหรือหน่วยบริการขึ้นเฉพาะ ซึ่งหากจะให้มีประสิทธิภาพก็จำเป็นต้องมีวัสดุจำนวนที่มากเพียงพอ จึงต้องมีงบประมาณ เพื่อการจัดซื้อวัสดุ จัดสร้างอาคารสถานที่ที่เหมาะสม และบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญ
โสตทัศนวัสดุ (Audiovisual Materials) หมายถึง วัสดุใดก็ตามที่ไม่อยู่ในรูปของตัวพิมพ์และสามารถสื่อความหมายจากข้อมูลที่บรรจุอยู่ เช่น
วัสดุที่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ ได้แก่ รูปภาพ แผนภูมิ ฯลฯ
วัสดุที่ต้องใช้อุปกรณ์ ได้แก่ วีดิทัศน์ เทป สไลด์ ฯลฯ
วัสดุที่ต้องใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ได้แก่ CD-ROM, Multimedia
โสตทัศนูปกรณ์ (Audiovisual Equipments) หมายถึง เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการดึง ข้อมูลที่บรรจุในวัสดุออกมาใช้ เช่น เครื่องเล่น เทปวีดิทัศน์ เครื่องคอมพิวเตอร์ ไมโครโฟน ลำโพง ฯลฯ
โสตทัศนศึกษา หมายถึง หน่วยงานที่มีหน้าที่ปฏิบัติงานต่าง ๆ ทางด้านโสตทัศนูปกรณ์ ซึ่งมีการดำเนินงานในด้าน บริหาร เทคนิค และบริการ
งานบริหาร ประกอบด้วย การจัดการงบประมาณ บุคลากร อาคารสถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ
งานเทคนิค ประกอบด้วย การประเมินคุณค่าวัสดุอุปกรณ์ สื่อและการเลือก การจัดหา การลงทะเบียน การจัดทำคู่มือช่วยค้น การเตรียมเพื่อให้บริการการจัดเก็บ และการบำรุงรักษา
งานบริการ ประกอบด้วย การบริการผลิตสื่อ บริการยืม-คืน บริการทำลำเนา บริการโสตทัศนูปกรณ์ และอื่นๆ
ศูนย์สื่อมีหน้าที่ให้บริการวัสดุพร้อมอุปกรณ์เพื่อการสอน การฝึกอบรม และการเรียนรู้ ในไม่นานมานี้มีการออกแบบ และสนับสนุนเทคโนโลยีชั้นเรียน มีการออกแบบระบบการศึกษาทางไกล และเทคโนโลยีการฝึกอบรม และนักวิชาชีพสื่อจะต้องให้คำแนะนำปรึกษาแก่ผู้ใช้ถึงความต้องการใช้สื่อ ซึ่งอาจจะต้องมีการจัดทำขึ้นมาเป็นพิเศษ เพื่อสนองตอบต่อผู้ใช้ทุกประเภท ซึ่งการจัดการที่ดีนั้น จะต้องมีการวางแผนที่ดี แนวทาง รูปแบบบริการ การวางแผนงบประมาณ ตลอดจนบุคลากรที่เกี่ยวข้อง การจะทำให้ศูนย์ดำเนินงานได้อย่างทันสมัยทันการ จำเป็นต้องมีการประเมินผลไม่ว่าจะเป็นแบบที่เป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ

ประวัติของสื่อ

การเริ่มต้นยุคของสื่อกล่าวได้ว่าเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 500 ปี มาแล้ว เมื่อมีการสร้างแท่นพิมพ์หล่อตัวพิมพ์มีการประดิษฐ์สื่อประเภทที่เคลื่อนย้ายได้ เช่น หนังสือเล่มแรก คือ The Gutenberg Bible พิมพ์ขึ้นในปี ค.ศ. 1546 การตีพิมพ์ข่าวสารเริ่มในปี ค.ศ. 1621 และในเวลาต่อมาเทคโนโลยีการพิมพ์ก็ได้มีการพัฒนาอย่างมากใน ค.ศ. 1814 มีการใช้การพิมพ์โดยพลังไอน้ำ
ในช่วง ค.ศ. 1850-1950 ได้มีการพัฒนาด้านต่าง ๆ มาก เช่น กระบวนการถ่ายภาพ เครื่องพิมพ์ดีด โทรเลข แผ่นเสียง รถยนต์ ภาพยนตร์ และอื่น ๆ ในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 ความเจริญรุดหน้าเป็นไปอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นเครื่องบิน การสื่อสารโทรคมนาคมและวิทยุโทรทัศน์ เป็นต้น ในสหรัฐอเมริกามีการออกกฎหมายเกี่ยวกับการนำสื่อมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา (1958) ใช้เป็นวัสดุและอุปกรณ์ประกอบการสอนตลอดจนการส่งเสริมการวิจัย และทดลองการออกแบบสื่อการศึกษาประเภทต่าง ๆ
หน่วยงานภาคเอกชนก็ได้หันมาสนใจในการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาช่วยเหลือ เช่น ห้องปฏิบัติการอำนวยความสะดวกในด้านการศึกษา หน่วยให้คำปรึกษาด้านสื่อการศึกษา สถาบันทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้และอื่น ๆ อีก ทั้งนี้จะเน้นหาแนวทางการใช้สื่อ อุปกรณ์ และเครื่องอำนวยความสะดวก ต่าง ๆ เพื่อการปรับปรุงกระบวนการศึกษา เช่น โทรทัศน์เพื่อการศึกษา ห้องปฏิบัติการด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรกลที่ช่วยการสอน และระบบการสอน ความก้าวหน้าดังกล่าวเป็นผลมาจากพัฒนาการของระบบคอมพิวเตอร์ ที่ทำให้คนสามารถเป็นเจ้าของเครื่องได้
การใช้สื่อในทศวรรษที่ 1950 เป็นการใช้ที่เป็นเอกเทศแยกจากกันแต่ละประเภทไม่ว่าจะเป็น ภาพสไลด์ ภาพยนตร์ หรือเทปเสียง จนกระทั่ง ค.ศ. 1980 เป็นต้นมาได้มีการนำคอมพิวเตอร์เข้าไปใช้ร่วมกับสื่อ และในปัจจุบัน ศตวรรษที่ 21 สามารถนำสื่อมารวมให้อยู่ในรูปแบบเดียวกันเป็นระบบ
ดิจิทัล (digital)

เนื้อหาวิชาที่เรียนอยู่

เทคโนโลยีการสอน (Instructional Technology)
เทคโนโลยีการสอน (Instructional Technology) เป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งหมายถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอน เทคโนโลยีการศึกษาที่กล่าวถึงกันส่วนใหญ่ จึงเป็นเรื่องของ เทคโนโลยีทางการเรียนการสอน
ในการเรียนการสอน หรือการทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้นั้น เป็นกระบวนการที่ต้องใช้เทคนิคและวิธีการมากมาย ไม่มีเทคนิคหรือวิธีการใดที่เราจะยอมรับกันได้ว่า ดีที่สุดสำหรับการเรียนการสอน เทคนิคและวิธีการแต่ละอย่างก็มีความเหมาะสมตามสภาพการณ์และเนื้อหาวิชาที่แตกต่างกันออกไป แต่ก็เป็นที่ยอมรับ กันโดยทั่วไปว่า การเรียนการสอนที่มีวัสดุอุปกรณ์ตลอดจน เครื่องมือ วิธีการ ช่วยอย่างเหมาะสม จะช่วยให้ผู้เรียนได้รับความรู้และประสบการณ์ มากกว่าการเรียนการสอน โดยให้นักเรียนฟังแต่เพียงคำพูด แต่เพียงอย่างเดียว
แนวโน้มของการศึกษาในปัจจุบัน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์อย่างกว้างขวาง แทนการฟังแต่เพียงคำบอกเล่าของครู ทั้งนี้เป็นผลเนื่องมาจากจำนวนผู้เรียนเพิ่มมากขึ้น การขยายตัวของสาขาวิทยาการต่าง ๆ ทำให้สิ่งที่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้มากขึ้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาทางให้ผู้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ให้ได้มากที่สุด โดยใช้เวลาในการเรียนน้อยกว่าเดิม
การเรียนการสอนที่ปฏิบัติได้จริง ส่วนใหญ่ เราไม่สามารถจัดประสบการณ์ตรง ให้กับผู้เรียนได้ทุกเนื้อหาเนื่องจากอาจมีข้อจำกัดบางประการณ์ เช่น
- ต้องลงทุนมาก
- ต้องใช้เวลานานมาก อาจเป็นหลายวัน หลายปีหรือหลายร้อยปี
- มีความยุ่งยากซับซ้อนมาก
- ความรู้บางอย่างไม่อาจสัมผัสได้โดยตรง

ความเป็นอยู่ในวันนี้

เนื่องจากยังถือสถานะเป็นนักศึกษา ความเป็นอยู่จึงจัดอยู่ในฐานะผู้ยังไม่มีรายได้ และด้วยที่ต้องอยู่ต่างประเทศ(ถึงแม้ว่าไม่ได้ไกลจากประเทศไทยนัก)จึงต้องประหยัดและอดออม ใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น แต่ก็ยังดีที่ไม่ใช่ประเทศที่ค่าครองชีพสูงนัก จึงลดภาระทางบ้านได้เยอะ. ในการเดินทางไปเรียน ก็ถือว่าอยู่ในระดับปานกลาง ใช้มอเตอร์ไซค์ส่วนตัว(แบบว่าบ้านเช่าไม่มีรถประจำทางผ่าน) และที่สำคัญ บ้านเช่าที่นี้เค้าคิดเป็นรายปี กว่าจะจ่ายอีกครั้งก็ปีหน้า จึงลดภาระการคิดเรื่องรายจ่ายได้มาก(แต่เมื่อถึงเวลาจ่ายอีกครั้งก็หนักหนาเอาการ)